กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่น วัยใส ร่วมใจป้องกันตั้งครรภ์ไม่พร้อม หมู่ที่ 5 บ้านควนยวน
รหัสโครงการ 60-L1505-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาลีวรรณพันทา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.474,99.648place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อและใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่นลดลงจาก ๑๘-๑๙ ปี เป็นประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปีและมีแนวโน้มอายุของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกลดลงเรื่อยๆ โดยเห็นได้จากคู่แต่งงานใหม่ในหมู่บ้านอายุน้อยลงหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านอายุไม่ถึง 20 ปี มีจำนวน 5 คนจากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในปี 2559 จำนวน 11 คน ผลกระทบสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การตั้งครรภ์แล้วจากการตั้งครรภ์ที่ยังไม่มีความพร้อม ในวัยรุ่นเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ และ เป็นการตั้งครรภ์นอกสมรสส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ได้แก่การทำแท้ง การมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมนอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและลูกที่เกิดมา
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านควนยวน จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส ร่วมใจป้องกันตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะชีวิต และมีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ในหมู่ที่ 5 บ้านควนยวน 3.2จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 3.3ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อประสานวิทยากร 3.4คัดเลือกเยาวชนในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุม 3.5 จัดอบรมวัยรุ่น จำนวน 50 คนจำนวน 1 วัน 3.6 ทำแบบทดสอบความรู้ ก่อน – หลังการอบรม 3.7 สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 วัยรุ่นมีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และมีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม ในวัยรุ่น 8.2 วัยรุ่นสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องเพื่อนวัยรุ่นด้วยกันได้ 8.3อัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่นลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2560 10:50 น.