กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L1505-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑาสุนทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.474,99.648place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยตลอดมา โดยมียุงลายเป็นพาหนะนำโรคการระบาดของโรคเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งปี พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของทุกปี ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจึงควรมีการดำเนินการป้องกันและควบคุม ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำประชาชน องค์กร ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 บ้านห้วยไม้แก่น จึงได้จัดทำโครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนร่วมมือกันกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นการลดจำนวนยุงที่ติดเชื้อและลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของประชาชน

 

3 สร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนในการรณรงค์ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงานให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขของหมู่ที่ 7 เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อม
  2. ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างความตื่นตัวในชุมชน
  4. จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน แนวทางการดำเนินการและ บทบาทชุมชนในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  5. เดินรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายในพื้นที่หมู่ที่ 7โดยการเน้นให้ทุกครัวเรือนช่วยกันทำความสะอาดภายในบ้านและนอกบริเวณบ้านของตนเอง โดยมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยการกระตุ้นของ อสม. แจกเอกสารให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก และแจกตัวอย่างโลชั่นทากันยุง
  6. อสม.ส่งแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อประเมินค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย
  7. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจในการรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงานให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการต่อไปในอนาคตได้
  3. แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายน้อยลง ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2560 11:15 น.