กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4148-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 66,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสนี แซกระดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

"ฟัน" คือปราการด่านแรกของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ฟันที่ดีและแข็งแรง จะช่วยบดเคี้ยวอาหารที่ดีส่งไปสู่ลำไส้ และต่อเนื่องไปถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆตามมา "ฟัน" จึงเป็นอวัยวะอันดับต้นๆที่เราต้องใส่ใจ สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาจเกิดฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้น และการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดีอาการอาเจียนบ่อยๆขณะแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อยที่เป็นกรด ภาวการณ์เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ อาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอด มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยจากการศึกษาของสำนักทันตสาธารณสุขพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย6.6 ซี่ ร้อยละ 90.4มีเหงือกอักเสบร้อยละ 89.60 และจากการศึกษาข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลบาโร๊ะ ในปี 2561 จำนวน 174 คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากจำนวน 148 คน พบหินน้ำลายจำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ93.24 ฟันผุต้องอุดจำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ81.08 ฟันผุต้องถอนจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ67.56 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุทั้งปากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคตเพราะเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุสามารถส่งต่อจากแม่หรือคนเลี้ยงไปสู่เด็กผ่านทางน้ำลาย จากการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน พบอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาและคนในครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง จากการสำรวจสภาวะเด็กกลุ่มวัยเรียนมักมีปัญหาสุขภาพช่องปากมากขึ้น เพราะอาหารการกินที่ส่วนมากเป็นขนมหวานเหนียว และไม่ชอบแปรงฟัน ประกอบกับโรงเรียน หรือหน่วยบริการสาธารณสุขอาจยังไม่มีกิจกรรมป้องกันส่งเสริมทันตสุขภาพที่ชัดเจน ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพครั้งล่าสุดในปี2561พบว่าผู้ที่มีอายุ ๖๐ปีขึ้นไป ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ร้อยละ 18.5 และสูญเสียบางส่วนเกือบทุกคนส่งผลให้เกิดความต้องการฟันเทียมทั้งปากเพื่อการเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรคในช่องปากที่นำไปสู่การสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งโรคฟันผุ โรคปริทันต์และรากฟันผุเป็นโรคเรื้อรังที่สะสมมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุความชุกและความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป     ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ปี2562  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้ถูกต้องและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการทันตกรรม Complete case

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนวัยเรียนมีควาเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
5 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
6 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้นำศาสนาเพื่อเตรียมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน 2. สำรวจปัญหาทันตสุขภาพตามกลุ่มวัย
3. เขียนโครงการ กำหนดรายละเอียดแผนงาน และการดำเนินงาน
4. ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามโครงการและแผนงาน 5. ประชุมเตรียมการดำเนินงาน และกำหนดแผนการดำเนินงานตามโครงการ

ขั้นดำเนินงาน 1. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่อสม. ความรู้เรื่องการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นสำหรับอสม. ความรู้เรื่องโรคในช่องปาก/ โรคทีมักพบบ่อยในช่องปาก ความรู้เรื่อง ทักษะการทำความสะอาดในช่องปาก 2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 2.1 ทบทวนและจัดทำแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ 2.2 ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากพร้อมแจกชุดอุปกรณ์สาธิต และให้ทันตสุขศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์
2.3 จัดนิทรรศการมหกรรมหญิงตั้งครรภ์แบ่งเป็น 4 ฐาน ฐานที่ 1 โรคเหงือกอักเสบ/โรคฟันผุ   ฐานที่ 2 การย้อมสีฟันและฝึกแปรงฟันจริง ฐานที่ 3 อาหารหลัก5 หมู่ ฐานที่ 4 ตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง 2.4 กิจกรรมการเยี่ยมหลังคลอดพร้อมแจกถุงนิ้วการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิด 3. กลุ่มก่อนวัยเรียน 3.1 ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากพร้อมแจกชุดอุปกรณ์สาธิตฟันซี่แรก 3.2 จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนเกี่ยวกับสาธิตการแปรงฟันให้ลูกในท่าต่างๆ อาหารที่มีประโยชน์ การแปรงฟันก่อนนอนให้ลูก 3.3 เจ้าหน้าทีร่วมกับ อสม.ออกเยี่ยมบ้านเพื่อกระตุ้นติดตามให้ผู้ดูแลทำความสะอาดช่องปากลูก 4. กลุ่มวัยเรียน 4.1 วางแผนการดําเนินงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา 4.2 จัดอบรมแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพโดยการให้ทันตสุขศึกษา และให้ฝึกปฏิบัติจริง 4.3 จัดกิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาในห้องเรียนทุกระดับชั้นโดยทันตบุคลากร และให้ทันตสุขศึกษาผ่านเสียงตามสายในช่วงพักเที่ยงโดยนักเรียนแกนนำ 4.4 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกระดับชั้นทุกห้องเรียนโดยพร้อมเพรียงกันทุกวัน 5. กลุ่มผู้สูงอายุ 5.1 จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง 5.2 เจ้าหน้าทีร่วมกับ อสม.ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุช่วยตัวเองไม่ได้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังดำเนินงาน -ประเมินผลโครงการ -สรุปผลโครงการ –นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากทุกคน
  2. หญิงตั้งครรภ์สามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
  4. แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
  5. ผู้สูงอายุ.มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2562 13:24 น.