กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตน้ำมันไพล ลดอาการปวดเมื่อย ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4148-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวอัสรียา แวนะไล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมากและแทบจะไม่รู้จักเลยทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัวเรา
    ไพล เป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวเรือนไทยมาช้านาน ถือเป็นมรดกที่ควบคู่กับวิถีชีวิตคนไทย โดยตามตำรายาไทยสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของไพลมาใช้เป็นยาได้แทบทุกส่วน คนส่วนใหญ่จะรู้จักไพล เนื่องจากเป็นส่วนประกอบหลักในการทำลูกประคบสมุนไพร บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่าไพลยังมีฤทธิ์ขยายหลอดลม โดยมีการทดลองในผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด ผลการศึกษารายงานว่า สารสกัดจากไพลให้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และจากการศึกษาในห้องทดลอง พบว่า น้ำมันหอมระเหยในเหง้า เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมและอาการปวดได้ จึงช่วยยับยั้งอาการอักเสบด้วยกระบวนการเดียวกับยาแก้ปวดและยาลดอาการอักเสบแผนปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีการนำสารสกัดไพลมาแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ครีม ขี้ผึ้ง และน้ำมัน เพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลผู้มารับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ พบว่า จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อและกระดูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยส่วนใหญ่มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ขา และบ่า ตามลำดับ ส่งผลให้น้ำมันไพลไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยที่มารับบริการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาแพทย์แผนไทยในพื้นที่ มีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในพื้นที่ มีนวัตกรรมด้านแพทย์แผนไทยในชุมชน ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ หนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ ได้กล่าวถึงการเสริมสร้างและสนับสนุนการวิจัยสมุนไพรไทยอย่างนครบวงจร ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการผลิตน้ำมันไพล ลดอาการปวดเมื่อย ประจำปี ๒๕๖๒” เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สมุนไพร และส่งเสริมการปลูก การแปรรูปสมุนไพรในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในพื้นที่ ได้แก่ ไพล ขมิ้น

 

0.00
2 เพื่อให้มีการรวมกลุ่มผลิตน้ำมันไพลของชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
17 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้และสาธิตการทำน้ำมันไพลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
  1. ประชุมผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
  2. รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
  3. จัดหาวัสดุ / อุปกรณ์ในการทำน้ำมันไพล
  4. อบรมให้ความรู้และสาธิตการทำน้ำมันไพลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  5. สรุปและประเมินผลการดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยการใช้สมุนไพรในท้องที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2562 10:54 น.