กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยในโรงเรียนบ้านเทพา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 21,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ คานยู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการ อย.น้อยในโรงเรียนบ้านเทพา เกิดขึ้นตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียน ครอบครัว ชุมชน ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสมปลอดภัยและจากการสังเกตพฤติกรรมในการเลือก รับประทานอาหาร หรือการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องสำอางของเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่าง ๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัยสักเท่าไร พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งต่างจากในอดีตประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรซึ่งกันและอีกทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆในการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า รวมถึงการเอารัดเอาเปรียบของผู้ผลิตที่มีผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่าง ๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากนักเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชน ที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6  อายุระหว่าง 7 – 12 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญหากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไป ด้วยหากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ นักเรียนแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียนบ้านเทพา จึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอย.น้อยโรงเรียน อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงจัดทำ กิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะในการเลือกซื้อใช้อาหารยาและเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปอย่างมั่นใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในเรื่องการเลือกบริโภคอาหารและมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยาประเภทต่าง ๆ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกบริโภคอาหารและมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยาประเภทต่าง ๆ

0.00
2 เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบ พิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารและเครื่องสำอางได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบ พิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารและเครื่องสำอางได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ได้ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนแกนนำสามารถนำไปเผยแพร่ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนของตนเองและใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละ 85 ของนักเรียนแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียนสามารถนำไปเผยแพร่ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนของตนเองและใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
4 เพื่อให้นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับอาหารที่สะอาดปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของนักเรียน  ครู  พ่อค้า  แม่ค้า  ผู้ปกครอง  และชุมชนได้รับอาหารที่สะอาดปลอดภัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,210.00 3 21,210.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร 0 12,020.00 12,020.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมย่อยสำรวจ ตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบ 0 8,690.00 8,690.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อยประชุมประเมินผลสรุปรายงานผลโครงการ 0 500.00 500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 15:36 น.