กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และดำเนินงานด้านการจัดการขยะเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 62-L7892-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกรรมการหมู่บ้าน หมู่ 9 บ้านซองเหนือ
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 48,995.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรเดช อะหวัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรรถพงษ์ แวสือนิ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 9 บ้านซองเหนือ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่นำให้เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจากขยะเทกองที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่มนุษย์และสัตว์ การจัดการขยะของประเทศไทย รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยใช้แนวคิด 3 R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยจัดทำ Roadmap จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ โดยวางโครงสร้างให้ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนร่วมกันจัดการปัญหา แบ่งเป็น 4 มาตรการ คือ 1. แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเก่าตกค้างสะสม 2. สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยใหม่ 3. วางระเบียบและมาตรการการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 4. การสร้างวินัยคนในชาติ         นอกจากนี้ขยะเป็นปัญหาและสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลนาทวีนอก เนื่องจากสาเหตุมาจากการทิ้งขยะลงข้างถนนหนทาง ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ไม่มีการคัดแยกขยะ รวมถึงขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ละเลยและไม่เห็นคุณค่าของขยะ ซึ่งหากประชาชนมีความรู้และมีความตระหนักที่จะนำขยะมาคัดแยกให้ถูกวิธี ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้ และนำกลับมาใช้หมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง         คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับขยะ จึงได้จัดทำโครงการ “อบรมให้ความรู้และดำเนินงานด้านการจัดการขยะเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ปีงบประมาณ 2562” นำร่องในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลนาทวี เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาขยะ ตลอดจนสร้างเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในชุมชนขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะและป้องกันควบคุมโรคติดต่อของเทศบาลตำบลนาทวีนอกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การจัดการขยะ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน”

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การจัดการขยะ    เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน”

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,955.00 0 0.00
1 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 1. แต่งตั้งคณะทำงาน / 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการ / 3. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ / 4. การรับสมัครและสร้างเครือข่าย / 5. ศึกษาดูงานการคัดแยกขยะต้นแบบ จ.พัทลุง 0 48,955.00 -
  1. แต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ตัวแทนเยาวชน อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 9
  2. ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะในชุมชน และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการจัดการขยะแก่คณะทำงาน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว และตัวแทนครัวเรือนในหมู่ที่ 9 จำนวน 130 คน
  3. รณรงค์และประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมการคัดแยกขยะในชุมชน ปลุกจิตสำนึกรักความสะอาด โดยจัดตั้งกองทุนขยะ ในนามขยะแลกบุญ โดยกำหนดให้ทุกครัวเรือนในหมู่ที่ 9 นำขยะมาคัดแยกที่จุดคัดแยกขยะ ณ มัสยิดบ้านซองเหนือทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ และนำขยะที่คัดแยกไปขาย หรือให้รถมารับที่จุดคัดแยกขยะ ทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง โดยนำเงินที่ได้จากการขายขยะเข้าเป็นเงินบำรุงมัสยิด
  4. รับสมัครและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในชุมชน
  5. ศึกษาดูงานการคัดแยกขยะต้นแบบ จังหวัดพัทลุง
  6. ติดตามและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราที่เกิดที่มียุง และแมลงเป็นพาหะลดลง
  2. เป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านการจัดการขยะเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2562 11:04 น.