กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขามประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L8402-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิโรจน์ สมพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 605 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ สาเหตุใหญ่การเสียชีวิตของคนทั่วโลก ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (ข้อมูลปี 2558) ระบุว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก 8.8 ล้านคน พบว่าประมาณ 1 ใน 6 มีสาเหตุจากโรคมะเร็ง ตามข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติของไทย ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในผู้หญิงรายใหม่ที่ลงทะเบียนในปี 2559 นอกจากมะเร็งเต้านมที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งแล้ว มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูกและรังไข่  พบเป็นอันดับรองลงมา ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เข้ามารับการรักษาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยช่วงอายุที่ผู้หญิงเป็นมะเร็งมากอยู่ระหว่าง 45-65 ปี มะเร็งเต้านมซึ่งเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบบ่อย ได้คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกกว่า 570,000 คนต่อปี ประเทศไทยพบผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมราว 20,000 คนต่อปี หรือ 55 คนต่อวัน มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งในสตรีที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ทุกปีจะมีผู้หญิงไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละประมาณ 6,500 คน หรือวันละ 17 คน
  อำเภอรัตภูมิมีประชากรสตรีเป้าหมายและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวนมาก เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายอย่างทันท่วงที ได้มีการดำเนินการคัดกรองอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้มีการเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง สตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี ในทุกหน่วยบริการสาธารณสุขของพื้นที่อำเภอรัตภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง อย่างน้อย ๕ ปีต่อ ๑ ครั้ง ซึ่งปี ๒๕๕๘-๒๕๖๒ เป็นปี เริ่มต้นช่วง ๕ ปีของการรณรงค์กลุ่มเป้าหมาย ๓๐-๖๐ ปี แต่ยังพบว่า ปี 2561 อำเภอรัตภูมิ กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพียง ร้อยละ 72.12 น้อยกว่าตัวชี้วัดที่กำหนดไว้  ร้อยละ 80 ประชากรสตรีเป้าหมายมีการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างน้อย ทำให้ประชากรสตรีเป้าหมายมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกได้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยหากป่วยด้วยโรคมะเร็ง  ปากมดลูก อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวต้องเดือดร้อนได้
  สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม มีจำนวน ๑,๐79 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น ๓,995 คน ประชากรกลุ่มสตรีเป้าหมาย อายุ ๓๐-๖๐ ปี จำนวน 525 คน (ข้อมูลพื้นฐาน รพ.สต.ทุ่งมะขาม, ๒๕61) พบว่า ในปี 2561 กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับบริการตรวจคัดกรอง เพียงร้อยละ ๘5.02 โดยร้อยละ 14.98 ที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองอาจมีภาวะสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมแลมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งต้องมีการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังอันตราย จากสถานการณ์ของโรคมะเร็งเต้านม ที่พบว่า ปี 2561 พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม  2 ราย ยังเข้ารับการรักษาอยู่ กลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้ารับการตรวจ คัดกรอง มีความผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 2 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้เห็นปัญหาและตระหนักถึงอันตรายที่อาจ จะเกิดขึ้น จากปัญหาโรคมะเร็ง  ปากมดลูกในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขามประจำปี ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของประชาชนพื้นที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจของโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำชุมชน  มีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ  ๘๐

80.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม มากกว่าร้อยละ ๙๐

90.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้อง

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจฯและมีผล ผิดปกติได้รับ การส่งต่อตามแนวทางที่ถูกต้องทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 43,150.00 4 43,150.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายหารือวางแผนการดำเนินโครงการในพื้นที่ 0 2,000.00 2,000.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0 21,050.00 21,050.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 รณรงค์เข้ารับการตรวจคักดรองมะเร็งปากมดลูก 0 3,600.00 3,600.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชาสัมพันธ์โครงการ รณรงค์ ให้ความรู้ในชุมชน 0 16,500.00 16,500.00

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน
๑.๒ เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ ๑.๓ เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานอบรม   ๒. ขึ้นดำเนินการ ๒.๑ ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ทุ่งมะขาม รวมทั้ง อสม. รพ.สต. สท.ต. และแกนนำชุมชนเพื่อชี้แจงปัญหาการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน ๒.๒ ประชุมชี้แจงโครงการและสถานการณ์โรคมะเร็งเต้านมและโรคปากมดลูกในปัจจุบัน แก่เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางดำเนินการในชุมชน 2.3 อบรมให้ความรู้ อสม. และ แกนนำชุมชน เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีป้องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ๒.4 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์  (ไวนิล) ในชุมชน และเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน ให้ได้รับความรู้และเชิญชวนเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก. อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ๒.5 อบรมให้ความรู้ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่ เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และ สังเกตอาการของโรค 2.6 ส่งหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใน รพ.สต.ทุ่งมะขามหรือสถานบริการอื่นๆ
๒.7 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap-smear แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยพยาบาลวิชาชีพประจำ  รพ.สต.ทุ่งมะขาม
๒.8 ส่ง Pap-smear ส่งตรวจโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยส่งผ่านโรงพยาบาลรัตภูมิ รอฟังผลตอบกลับประมาณ ๑ เดือน ๒.9 ออกติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองในพื้นที่ สอบถามปัญหา อุปสรรค ในการเข้ารับการตรวจคัดกรอง โดย อสม.และ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ๒.10 ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป ๒.11 ติดตาม ให้สุขศึกษา การดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายที่พบความเสี่ยงของโรคฯ อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง โดย เจ้าหน้าที่และ อสม. ในพื้นที่
    ๓ สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ไม่พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในชุนชน ๒ ประชาชนมีความรู้ ให้ความสำคัญและสามารถเฝ้าระวัง สังเกตอาการของโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562 10:46 น.