กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันดลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โดยชุมชน
รหัสโครงการ L-1527-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 5,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถารณการณ์ของโรคเรื้อรังที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ผุ้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสุงเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่เป็นปัญหา สำคัญในศตวรรษที่ 21 การดำเนินของโรคมีปัญหาซับซ้อนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สังคม นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังและรุนแรงได้ อาทิเช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง รวมทั้งทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผุ้ดูแลมากที่สุดโรคหนึ่ง หากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนให้อยู่ในภาวะปกติได้ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไปได้ ข้อมูลผุ้ป่วยเบาหวานจังหวัดตรัง ปี 2559-2561 (รายงานฐานข้อมูงจังหวัด 43 แฟ้ม) จำนวน 56,922 59,019 และ 61,910 คนตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเปรียบเทียบระหว่างปี 2559 ถึง 2561 พบว่าผุ้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามรถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีมีจำนวน 16,905 19,174 และ 22,315 คนตามลำดับ คิดเป้นร้อยละ 29.70 32.49 และ 36.04 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังคุมได้ในระดับที่น้อยอยุ่ จากสถารการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามรถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ส่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง เพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลเสียต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงขากสมรรถภาพในการประกอบอาชีพด้วย โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว (รายงานข้อมูลจังหวัด 43 แฟ้ม เมื่อ 31 มกราคม 2562 ) พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 422 คน ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันดลหิตไม่ได้ จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 17.28 จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ป่วยไม่สามรรควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกดังกล่าว ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงขาดสมรรถภาพในการประกอบอาชีพด้วย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงจัดทำโครงการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โดยชุมชน ขึ้นเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเอง และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละ 95 ของผุ้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเอง และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจติดตามความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจติดตามความดันโลหิต

0.00
3 เพื่อให้แกนนำ/ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 95 ของผู้เข้าร่วมโครงการ และแบบประเมินความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ก่อน หลัง การอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,500.00 0 0.00
28 มิ.ย. 62 - 7 ก.ค. 62 กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผุ้ป่วยความดันโลหิตสูง 0 5,500.00 -

1.ประชุมชี้แจงสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกิจกรรมโครงการการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โดยชุมชน ของตำบลเขาขาว 2.กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 3.กิจกรรมให้ความรู้แกนนำหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 4.แกนนำ/ผู้ดูแล ติดตามความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 1 เดือนหลังได้รับความรู้ ประเมินผลโครงการ ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่มีความรุ้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ของตนเอง เฝ้าระวังควบคุมเบาหวานได้ตามเกณฑ์ 2.ลดอัตราการเกิดโรคภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2562 09:15 น.