กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครประจำคลินิกปลอดบุหรี่ ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4141-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
พี่เลี้ยงโครงการ นางรัตนา สุวรรณวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทางประชากรโลก องค์การอนามัยโลก รายงานว่า ประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน ในประเทศไทย การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับคนไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดสมองและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โดยสาเหตุสำคัญอื่น ได้แก่ การดื่มสุรา การขาดการออกกำ ลังกาย และการกินอาหารหวานมันเค็ม มากเกินไป ทำให้คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 48,244 คน
      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็น ความสำคัญจึงได้สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการเพื่อเชื่อมประสานการทำงาน ร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมการสูบบุหรี่และ การดื่มสุรามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน หากพบคนติดเหล้าก็มักจะติดบุหรี่ไปด้วย ดังนั้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงให้ความสำคัญกับชุมชน ครอบครัว ที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดในสังคม เพื่อเป็นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ จึงได้สนับสนุนให้มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน ได้เข้ามา มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) ในการบูรณาการงานเหล้าบุหรี่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัยชุมชน
      สถานการณ์การบริโภคยาสูบในตำบลลำใหม่ ประชากรอายุ15 ปี ขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ในตำบลลำใหม่ จำนวน 565 คน คิดเป็นร้อยละ 12.70 ด้วยเหตุนี้ทางตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคยาสูบ จึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครคลินิกปลอดบุหรี่ ประจำปี 2562 เพื่ออบรมตัวแทนอาสาสมัครประจำคลินิกปลอดบุหรี่ เพื่อชักชวน แนะนำประชาชนในเขตพื้นที่ให้มารับบริการเลิกบุหรี่ ที่คลินิกปลอดบุหรี่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชน ลด ละ เลิกการบริโภคยาสูบ และกำหนดโซนนิ่งเขตห้ามสูบบุหรี่ เพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้เป็นตำบลปลอดบุหรี่และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมสืบต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อดำเนินการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำคลินิกปลอดบุหรี่

ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำคลินิกปลอดบุหรี่

100.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนที่สูบบุหรี่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่

ร้อยละ 50 ของประชาชนที่สูบบุหรี่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่

50.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่เลิกบุหรี่อย่างน้อย 9 เดือน

ร้อยละ 50 ของประชาชนที่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่เลิกบุหรี่อย่างน้อย 9 เดือน

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 16,200.00 1 16,200.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมให้ความรู้ 60 16,200.00 16,200.00
  1. จัดประชุมคณะทำงานคลินิกปลอดบุหรี่ เพื่อวางแนวทางการทำงานต่อเนื่อง
  2. ให้เจ้าหน้าที่ อสม./สาธารณสุขร่วมสำรวจข้อมูลการสูบบุหรี่ในชุมชน ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของชุมชน
  3. วางแผนการรณรงค์สร้างกระแสลดละเลิกการบริโภคยาสูบ และชักชวนให้เข้าร่วมเลิกบุหรี่ที่คลินิกเลิกบุหรี่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
  4. จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.จำนวน 60 คน เรื่องประวัติความเป็นมาและส่วนประกอบของบุหรี่,โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่,ภัยร้ายของบุหรี่มือสอง, การชักชวน/โน้มน้าวใจผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ และทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม ณ ห้องประชุม รพ.สต. ลำใหม่
  5. ติดตามการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ทุก 1,3 และ 6 เดือน และนำผลการติดตามมาวิเคราะห์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ เพื่อร่วมหาแนวทางต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำคลินิกปลอดบุหรี่ 2.ร้อยละ 50 ของประชาชนที่สูบบุหรี่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่ 3. ร้อยละ 50 ของประชาชนที่เข้าร่วมเลิกบุหรี่ประจำคลินิกปลอดบุหรี่เลิกบุหรี่อย่างน้อย 9 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2562 15:55 น.