กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังคนรุ่นใหม่ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5171-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 7,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสภิดา ไม่จน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมาโดยในปี พ.ศ.2553 นี้ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำขวัญว่า "Gender and tobacco with an emphasis on marketing to women" หรือ “หญิงไทยฉลาดไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่” โดยให้ความสำคัญต่อการปกป้องเด็กและสตรี มิให้กลายเป็นเหยื่อของอุตสาหกรรมบุหรี่ รวมทั้งปกป้องสิทธิการมีสุขภาพที่ดีของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่าผู้สูบบุหรี่มือสอง (secondary or passive smokers) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ปี 2561 พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 7 ล้านคนและคนไทยเสียชีวิตกว่า 50,000 คนต่อปี จากโรคร้ายที่เกิดจากบุหรี่ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมปอดพอง และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ ประกอบกับในปี 2562 จังหวัดสงขลา เน้นให้มีชุมชนปลอดบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อ ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการ บริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

ร้อยละ30 กลุ่มผู้เสพบุหรี่เข้าร่วมบำบัดและเลิกบุหรี่ได้นาน 6 เดือน

0.00
2 2. เพิ่มพูนความรู้และทักษะ การเผยแพร่และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบและการรณรงค์ เพื่อการลด /ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กับประชาชนทั่วไป

ประชาชนมีความรู้และทักษะในการลด/ละ/เลิก การสูบบุหรี่ จากการประเมินความรู้ก่อนหลังอบรมมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
3 3. จัดตั้งมุมความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่และมีชมรมต้านบุหรี่ในชุมชน

การจัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่ในสถานบริการขึ้นอย่างน้อย 2 ชมรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 8,100.00 0 0.00
15 พ.ค. 63 1. การประชุมชี้แจงโครงการ 1.1 ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ 120 0.00 -
15 พ.ค. 63 2.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 120 คน 0 8,100.00 -
15 พ.ค. 63 2.1 ให้การติดตามกลุ่มเข้ารับการบำบัดเลิกบุหรี่ ทุก ๒ เดือนพร้อมประเมินความเสี่ยง ( ๔ ครั้ง ) 0 0.00 -
15 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 ให้การดูแลและส่งต่อกลุ่มที่ประเมินแล้วมีภาวะติดนิโคตินระดับสูงที่ต้องการเลิกเข้าสู่คลินิก PCCเพื่อประเมินการใช้ยาช่วยในการเลิกบุหรี่ 0 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงโครงการ ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง   จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน 6.2 ทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 6.3 แจกคู่มือความรู้ พิษภัยของบุหรี่และการปฏิบัติตน 6.4 ทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม     6.5 จัดตั้งมุมความรู้เรื่อง บุหรี่ เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบ และการรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป และจัดตั้งมุมความรู้เรื่อง บุหรี่     6.6 ดำเนินการคลินิกเลิกบุหรี่สำหรับผู้ที่สมัครใจเลิก ใน. วันจันทร์ที่ 2 ของเดือน โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ( หน่วย PCCบางเหรียง) 6.6 จัดตั้งชมรมต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการ   ควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
  2. เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น จากการเผยแพร่   และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบและการรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
  3. ในชุมชนมีมุมความรู้เกี่ยวกับบุหรี่
  4. มีชมรมต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่
  5. มีคลีนิกเลิกบุหรี่ในสถานบริการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2562 19:01 น.