กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและลดความรุนแรงในครอบครัว
รหัสโครงการ 62-L9252-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2562 - 3 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 2 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลทุ่งบุหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ทุ่งบุหลัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.0403588239707,99.695607147885place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2562 18,000.00
รวมงบประมาณ 18,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความสำคัญและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นเวลานาน ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาได้ขยายวงกว้าง และมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีเป็นอย่างมาก จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ร้อยละ ๓๕ หรือมากกว่า ๑ ใน ๓ ของผู้หญิงทั่วโลก เคยถูกทำร้ายร่างกายและ/หรือถูก ล่วงละเมิดทางเพศ ในปี ๒๕๕๖ พบมีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้ายถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล รวม ๓๑,๘๘๖ ราย หรือ ๘๗ คนต่อวัน โดยความรุนแรงเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เราคิดว่าปลอดภัยที่สุด นั่นคือบ้าน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีหลายรูปแบบทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางวาจา และทางเพศ เช่น การทำร้ายร่างกาย การบังคับจิตใจ การข่มขู่ การใช้วาจาด่าว่าให้เจ็บช้ำน้ำใจ การควบคุมกักขัง การข่มขืนกระทำชำเรา และการกระทำอนาจาร เป็นต้น ซึ่งผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และมักเป็นบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัว ส่วนผู้ถูกกระทำเป็นผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเด็ก สังคมมองว่าเป็นปัญญาหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว แม้แต่ญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือ ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะยากลำบากและไม่กล้าบอกเล่าให้ใครฟัง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย หรือจำต้องยอมถูกกระทำเนื่องจากเป็นห่วงลูก และต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากผู้ชาย สำหรับสาเหตุของการกระทำความรุนแรงเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ เหล้า สารเสพติด การพนัน ความหึงหวง การสะท้อนภาพความรุนแรงของสื่อต่างๆ และที่สำคัญคือ ค่านิยมดั้งเดิมของสังคมไทยที่เชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว เป็นเจ้าชีวิตภรรยาและลูก มีสิทธิดุด่าทุบตีทำร้าย หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ตามความต้องการ เป็นต้น ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวได้กลายเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันละแก้ไขปัญหา และไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไปแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความรุนแรง และลงโทษ เยียวยา ฟื้นฟู ผู้ถูกกระทำความรุนแรง รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมรอบข้างได้มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาร่วมกัน ความคิดริเริ่ม เนื่องจากการจัดโครงการในครั้งนี้ เป็นการจัดโครงการใหม่ที่ป้องกันและลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวซึ่งปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นภัยเงียบที่เป็นภัยต่อสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการจัดโครงการในครั้งนี้เราสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาดังกล่าวได้มากขึ้น และทำให้ครอบครัวได้รับรู้บทบาทของตนเองว่าควรปฏิบัติตนต่อคนในครอบครัวอย่างไรเพราะเรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งหลายๆ ครั้งที่เกิดปัญหาคนนอกอาจจะมองเป็นแค่เรื่องภายในครอบครัว คนนอกไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำให้คนในชุมชนและสังคมมองมุมใหม่ว่าเรื่องภายในครอบครัวก็จริงแต่เราสามารถให้ความช่วยเหลือและปรึกษาได้ โดยเราจะจัดตั้งเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว โดยเน้นให้ผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังในปัญหาดังกล่าวด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นและพนักงานส่วนตำบลได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เด็ก สตรี สมาชิกในครอบครัวและประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ถึงโทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

 

0.00
3 เพื่อให้สังคมและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,000.00 1 18,000.00
??/??/???? จัดกิจกรรมให้ความรู้และกิจกรรมสันทนาการ 0 18,000.00 18,000.00

2.1 ประชุมคณะกรรมการ/ผู้ประสานงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลทุ่งบุหลัง เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ ประจำปี ๒๕๖2 กำหนดการกิจกรรม กำหนดกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ 2.2 ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2.3 ประสานงานในการจัดหาสถานที่ในการจัดกิจกรรม โครงการ จัดหาวิทยากร 2.4 จัดการอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย 2.5 สรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นและพนักงานส่วนตำบล และครอบครัวผู้เข้าร่วมโครงการ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ 2.ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เด็ก สตรี สมาชิกในครอบครัวและประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ถึงโทษทัณฑ์และความคุ้มครองทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
3.สังคมและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 00:00 น.