กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ 62-L3332-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2562 - 20 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 15,136.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำนงค์ ฤทธิเดช/ผอ.รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้เครื่องสำอางค์และยาที่ไม่ได้มาตรฐาน
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนและยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้นในปัจจุบันการดำเนินงานเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวซึ่งจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสิ่งต่างๆที่เป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆเช่นโรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆเป็นต้นและส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนที่อาจหลงเชื่อการโฆษณา ซึ่งจากการตรวจร้านชำที่ผ่านมาพบว่ามีการจำหน่ายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ ผลิตภัณฑ์หมดอายุ เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย การจัดร้านไม่เป็นระเบียบ ไม่แยกประเภทซึ่งอาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาที่กำหนด ซึ่งจากการตรวจร้านชำที่ผ่านมาพบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคเกิดความรู้และนำไปถ่ายทอดสูชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้เครื่องสำอางและยาที่ไม่ได้มาตรฐาน

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้เครื่องสำอางและยาที่ไม่ได้มาตรฐาน

3.00 0.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานและตรวจสอบร้านชำในเขตรับผิดชอบ

 

0.00
4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของคนในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,136.00 1 15,136.00
??/??/???? จัดอบรมเครือข่ายสุขภาพ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และตรวจร้านชำ 0 15,136.00 15,136.00

๑.จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน ๒.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (ร้านชำ) 5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆสำหรับใช้ในการดำเนินกิจกรรม 6. ตรวจร้านขายของชำทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ ครั้งที่ ๑ 7. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 8. ตรวจร้านขายของชำทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ ครั้งที่ ๒ ร่วมกับ แกนนำ อสม. ที่ผ่านการอบรม
9. สรุปและประเมินผลการดำเนินการ 10. คืนข้อมูลให้ชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม.
  2. ร้านชำในเขตรับผิดชอบจำหน่ายเครื่องสำอาง และยาถูกต้อง
  3. ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 10:58 น.