กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็แรกเกิด 0-3 ปี และเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลการสำรวจสภาวะช่องปากปีงบประมาณ 2559, 2560 และ 2561 ของจังหวัดตรัง พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.26 55.60 และ 52.60 ตามลำดับ สำหรับอำเภอรัษฎา พบเด็กอายุ 3 ขวบมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 53.89 55.40 และ 54.10 ตามลำดับ ในขณะที่ตำบลเขาไพรพบเด็กอายุ 3 ขวบมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 46.87 43.75 และ 45.45 ตามลำดับ การเกิดฟันผุในเด็ก นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่ถูกถอนออกหรือหลุดก่อนเวลาอันควร ทำให้ไม่สามารถกันที่ไว้ให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกัน ไม่เหมาะสมกับใบหน้าเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก มีผลต่อการบดเคี้ยว การพูดชัด การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการให้บริการทันตกรรมครบวงจร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายสูง การป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจะต้องจัดบริการทันตกรรมเชิงรุก ได้แก่ งานส่งเสริมป้องกันสภาวะสุขภาพช่องปาก (การตรวจสุขภาพช่องปาก, การให้ทันตสุขศึกษา, ฝึกการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติให้แก่ผู้ปกครองและเด็กเล็ก , การทาฟลูออไรด์วานิช)นอกจากนี้ต้องอาศัยการรักษาและฟื้นฟูทางทันตกรรมในเด็กที่มีปัญหาสูญเสียเนื้อฟันและฟันบางส่วนไป ทั้งนี้ต้องอาศัยการติดตามประเมินผล รวมไปถึงการรณรงค์และสนับสนุนกิจกรรมการดูแลสุขภาพฟัน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร จึงได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กแรกเกิด 0-3 ปีและเด็กปฐมวัย เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลเขาไพร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด 0-3 ปี และเด็กปฐมวัย ในเขตตำบลเขาไพร ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและมีสภาวะช่องปากที่ดี

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในเขตตำบลเขาไพรและครูผู้ดูแลเด็ก ได้เข้าใจและดูแลเอาใจใส่สุขภาพช่องปาก

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด 0-3 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟันแก่เด็กอย่างน้อย ๑ ครั้ง

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็ก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กลุ่มเด็กแรกเกิด 0-3 ปี จัดกิจกรรมในคลินิก WBC ใน รพ.สต.เขาไพร โดยจัดขึ้นในวันที่มารับวัคซีน โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.1 ตรวจสุขภาพช่องปาก และทำแบบสำรวจพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคฟันผุ 1.2 ให้ทันตสุขศึกษาโดยการสอนแปรงฟันหรือทำความสะอาดช่องปากแบบลงมือปฏิบัติให้ผู้ปกครอง พร้อมกับหาทางแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคฟันผุที่พบในเด็กรายนั้นๆ 1.3 ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กกลุ่มเสี่ยง โดยทันตบุคลากร
  2. กลุ่มเด็กปฐมวัย 2.1 ตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถม 2.2 ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ (อาหาร,ฟันผุ,เหงือกอักเสบ,การแปรงฟันที่ถูกวิธี) แก่เด็ก 2.3 แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง 2.4 ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กกลุ่มเสี่ยง โดยทันตบุคลากร
  3. สรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปากของกลุ่มเด็กแรกเกิด 0-3 ปี และกลุ่มเด็กปฐมวัยแก่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไพร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิด 0-3 ปีและเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและไม่พบรอยโรคฟันผุเพิ่มเติม
  2. ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็กปฐมวัย ได้เห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
  3. ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลเด็กต่อเนื่องได้ในช่วงอายุถัดไป
  4. ผู้ปกครองนำเด็กไปรับการรักษาตามผลการตรวจที่ได้แจ้ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2562 15:26 น.