กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโตไปไม่อ้วน
รหัสโครงการ 62-50117-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดจอมไตร
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์พัฒน์ ศรีรัตนพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหานักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ เน้นความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดค่านิยมในการรับประทานอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีแป้ง น้ำตาลและไขมันในปริมาณสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายน้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคอ้วนทั้งสิ้น โรคอ้วนเป็นต้นเหตุของโรคร้ายอื่นๆอีกมากมาย อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด เป็นต้น อีกทั้งโรคอ้วนในวัยเด็กยังมีผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน เช่น จะทำให้นักเรียนเกิดอาการง่วงนอนขณะนั่งเรียน เคลื่อนไหวร่างกายไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนเด็กที่มีอายุรุ่นเดียวกันหรือโดนเพื่อนล้อปมด้อยเรื่องอ้วน ส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจในตนเอง จนทำให้ไม่มีความสุขต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทางโรงเรียนได้เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและส่งเสริมการออกกำลังกายของนักเรียนเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพให้เกิดความสมดุลระหว่างน้ำหนัก ส่วนสูงและอายุ ทั้งนี้นักเรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเจตคติต่อการบริโภคอาหารและเรียนรู้แนวทางในการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ และการปรับสภาพร่างกายที่อ้วนมีไขมันส่วนเกินมากให้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนักได้สัดส่วนตามเกณฑ์มาตรฐานและมีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลให้เกิดโรคอ้วน

เพื่อสร้างความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลให้เกิดโรคอ้วน

30.00
2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิณฑ์มาตรฐาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิณฑ์มาตรฐาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

30.00
3 เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการออกกำลังกายแก้ปัญหาโรคอ้วนอย่างถูกวิธี และมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการออกกำลังกายแก้ปัญหาโรคอ้วนอย่างถูกวิธี และมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,550.00 0 0.00
27 ก.ค. 62 โครงการโตไปไม่อ้วน 0 26,550.00 -

4.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.2 ประชุมชี้แจงครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกันพร้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและได้กำหนดกิจกรรมในโครงการดังนี้
    - ประสานความเข้าใจกับผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนโรงเรียนวัดจอมไตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปี 6 ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวน 30 คน       - จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กนักเรียน  โดยเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้       - จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่มี ผลต่อการลดภาวะโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน  โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามาให้ความรู้     - จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย ทุกวันหลังเลิกเรียนเป็นเวลา 4 สัปดาห์  (10 ชม.)  และการเฝ้าระวังติดตามการบริโภคทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
    -  บันทึกเป็นข้อมูลในแต่ละวันและสรุปเป็นรายสัปดาห์ 4.3 แต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสภานักเรียน ผู้ปกครองเพื่อจะได้ร่วมกันจัดทำโครงการ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 4.4 คณะทำงานร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน       - ประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลให้เกิดโรคอ้วน 8.2 นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงคล่องแคล่วว่องไวขึ้น
8.3 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการออกกำลังกายแก้ปัญหาโรคอ้วนได้อย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ และมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2562 14:00 น.