กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L1478-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ละมอ
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,938.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรุงพัฒน์ หอวิชยกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายอนันต์ ไทรงาม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้าง ความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปี 2559พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ละมอ หมู่ที่ 1, 4 ,8 ,9 ,10 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน75 รายคิดเป็นอัตราป่วย 2,290 ต่อแสนประชากร
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมโดยต้องใช้หลักการควบคุมโรคควบคู่กันไปทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางเคมี ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1ค่า CIใน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับ 0 2 หมู่บ้านมีค่า HI. น้อยกว่า 10 ทุกหมู่บ้าน

2 ข้อที่ 2 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง น้อยกว่า 500 ต่อแสนประชากร

3 ข้อที่ 3 มีแผนรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  1. แผนรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. ทุกกิจกรรมได้ดำเนินการตามแผนฯ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะทำงานทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว รพ.สต.ละมอ 3. จัดอบรม อสม. เพิ่อจัดทำแผนรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4.อบรมเชิงปฏิบัติการทีม สอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) 5. จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้าน วัด โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก 6. อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายในละแวกบ้านและให้คำแนะนำประชาชนในการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย.ทุก 7 วัน (วันศุกร์) 7. สุ่มประเมินสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่และทีม SRRT 8. ทีม สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว แจ้งข่าว/รับแจ้งข่าว/ตรวจสอบข่าวและสอบสวนและควบคุมโรค ทุกรายที่ได้รับแจ้ง 9. สรุป/ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2 มีภาคีเครือข่ายร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 11:40 น.