กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเก็บถังขยะคืนไปเอามะพร้าวน้ำหอมมาหมู่ที่๗บ้านท่ามะนาว
รหัสโครงการ 17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ที่7
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 59,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชัย อินทร์ประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการนี้ เป็นโครงการใหม่ที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมมาก่อนโครงการนี้เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่าย ด้วยการแบบบูรณาการกิจกรรมการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เคยใช้จัดการขยะในครัวเรือนในอดีตผสมผสานกับวิทยาการและองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านการจัดการขยะ ตามรูปแบบ ลักษณะ องค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีที่เป็นส่วนประกอบของขยะ กิจกรรมในโครงการนี้ได้มาจากการจัดทำเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในทุกภาคส่วนของชุมชนและทุกครัวเรือน โดยการจัดให้มีกิจกรรมเชิงรุกตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกจิตสำนึก การฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องประเภทและชนิดของขยะ การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนนำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์หรือน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากขยะในชุมชนและครัวเรือนไปใช้ทางการเกษตรเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติและป้องกันโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้น โดยการดำเนินงานดังกล่าว มุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกของประชาชนและเพิ่มความสามารถของชุมชน ในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้ง สร้างเครือข่ายการดำเนินงานให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง โครงการนี้ยังเป็นโครงการที่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐที่ประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติอีกด้วย ๑.หลักการและเหตุผล ปัจจุบันในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน มีปริมาณขยะจำนวนมากและส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน กลายเป็นภาระหนักของเทศบาล ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ทั้งๆที่ขยะส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ เป็นขยะที่สามารถเพิ่มคุณค่าและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนั้น ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในทุกวันทำให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่าง เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน ยุงลาย อีกทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจและเกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่นตะกั่ว ปรอท ที่ถูกทิ้งลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำในชุมชนเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตันกลายเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ เกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ นอกจากนั้น ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เป็นขยะอันตรายหรือเป็นขยะที่มีพิษ เช่น หลอดไฟ ถ่านไปฉาย แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างกลายเป็นปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนในที่สุด คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับ อสม.หมู่ที่ ๗ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านปากคลอง จึงได้จัดทำเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนโดยชุมชนเอง จนเกิด “โครงการเก็บถังขยะคืนไป เอามะพร้าวน้ำหอมมา หมู่ที่ ๗ บ้านท่ามะนาว” ที่มุ่งเน้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเป็นสำคัญ อันจะนำไปสู่การเกิดชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมของตำบลในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๔.๑ ขั้นเตรียมการ ๔.๑.๑ ประสานงานผู้เกี่ยวข้องนำเสนอแนวคิดการดำเนินงานโครงการ เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ ๔.๑.๒ ประชาสัมพันธ์โครงการทางหอกระจายข่าวและป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ๔.๑.๓ กำหนดวันให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ขุดหลุมขยะในบริเวณบ้าน ขนาดไม่น้อยกว่า ๑ X ๑ เมตร ครัวเรือนละ ๑ หลุม พร้อมๆกัน ๔.๑.๔ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน ให้แก่ตัวแทนสมาชิกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ครัวเรือนละ ๑ คน เพื่อเป็นแกนนำและเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะและคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชน ให้สมาชิกในครัวเรือนของตน โดยมีหลักสูตรดังนี้ - หลักสูตรการคัดแยกขยะในครัวเรือนตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด - หลักสูตรการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพในครัวเรือนและชุมชน ๔.๑.๕ จัดทำสถานที่สำหรับเก็บขยะที่ครัวเรือนคัดแยกแล้ว ในกลุ่มบ้านท่ามะนาวตกและท่ามะนาวออก จำนวน ๒ จุด ๔.๑.๖ จัดทำสถานที่สำหรับเก็บขยะมีพิษของหมู่บ้าน บริเวณที่ประชุมหมู่บ้าน จำนวน ๑ จุด ๔.๑.๗ จัดหากระสอบปุ๋ย จำนวน ๒๗๐ ใบ เพื่อให้ครัวเรือน ใช้เป็นที่เก็บขยะที่คัดแยกของครัวเรือน ๔.๒ ขั้นดำเนินการโครงการ ในระยะที่ ๑ ๔.๒.๑ จัดตั้งกองทุนขยะของหมู่บ้าน แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ประธาน รองประธาน เลขานุการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชีและฝ่ายขาย พร้อมจัดทำสมุดบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภทของสมาชิก ครอบครัวละ ๑ เล่ม ๔.๒.๒ ให้ครัวเรือนรวบรวมขยะที่คัดแยกของครัวเรือนมาเก็บยังสถานที่เก็บขยะของหมู่บ้าน โดยมีคณะกรรมการ เป็นผู้บันทึกน้ำหนักของขยะแต่ละประเภท เดือนละ ๑ ครั้ง ๔.๒.๓ ให้ครัวเรือนรวบรวมขยะมีพิษและวัสดุเหลือใช้อันตราย มาจัดเก็บในสถานที่สำหรับเก็บขยะมีพิษของหมู่บ้าน ในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

๔.๒.๔ ให้ครัวเรือนเก็บรวมรวมขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ นำมารวมกันบริเวณลานในหมู่บ้านเพื่อจัดทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพสาธิต เพื่อนำกลับไปใช้ในภาคเกษตรของชุมชน ๔.๒.๕ ติดต่อผู้ประกอบการรับซื้อของเก่ามาประมูลขยะที่คัดแยกของหมู่บ้าน ความถี่ตามปริมาณของขยะ ที่คัดแยกได้ ๔.๒.๖ ติดต่อประสานงานเทศบาล จัดเก็บขยะมีพิษและขยะอันตรายจากชุมชนไปทำลาย
๔.๒.๗ ติดต่อต่อประสานงานเทศบาล จัดเก็บทั่วไปที่เกิดขึ้นจากงานประเพณีไปทำลาย ๔.๓ ขั้นดำเนินการโครงการ ในระยะที่ ๒ ขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ๒.๓.๑ นำผลการดำเนินงานโครงการ รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามโครงการ เข้าสู่ที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เพื่อจูงใจให้ครัวเรือนที่เหลือเข้าร่วมโครงการ ๒.๓.๒ นำผลการดำเนินงานโครงการ รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามโครงการ ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน เพื่อจูงใจให้ครัวเรือนที่เหลือเข้าร่วมโครงการ ๒.๓.๓ เปิดรับสมัครครัวเรือนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมโครงการ ในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ๒.๓.๔ จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ระหว่างครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการใหม่กับครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการก่อนหน้านี้ ที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องเดิมไว้แล้ว ๔.๔ ขั้นดำเนินการโครงการในระยะที่ ๓ สร้างรายได้ในระยะยาว จากกิจกรรมการจัดการขยะ
๔.๔.๑ ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนใช้ขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ในครัวเรือน จัดทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ เพื่อนำกลับไปใช้ในการทำเกษตรของครัวเรือน ๔.๔.๒ จัดกิจกรรม “เก็บถังขยะคืนไป เอามะพร้าวน้ำหอมมาแทน” ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ในหลุมขยะของครัวเรือน ครัวเรือนละ ๔ ต้น โดยเทศบาลบ้านสวน พร้อมประกาศ “บ้านท่ามะนาว หมู่บ้านต้นแบบปลอดขยะและถังขยะ” ของเทศบาลบ้านสวน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๒.๑ ผลประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชน ๑๒.๑.๑ ประชากรในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวทางการลดปริมาณของเสียให้น้อยลง (Less Waste) จนมีการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) ๑๒.๑.๒ ชุมชนและทุกครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถในด้านการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมีการคัดแยกขยะจากแหล่งที่เกิด มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้เองในชุมชนและครัวเรือน และมีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล ๑๒.๑.๓ ครัวเรือนและชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดการขยะ ๑๒.๑.๔ เทศบาลตำบลบ้านสวนลดค่าใช้จ่ายในการบริการจัดการขยะลง สามารถใช้งบประมาณส่วนนี้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือด้านอื่นๆได้เพิ่มขึ้น ๑๒.๑.๕ ปัญหามลภาวะจากสิ่งแวดล้อมและโรคติดต่อที่เกิดจากพาหะนำโรคที่ใช้ขยะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ในชุมชนลดลง

๑๒.๒ ผลประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๒.๒.๑ ลดปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ ลดขยะตกค้าง ทำให้ลดมลภาวะจากขยะชุมชนลงได้ ๑๒.๒.๒ มีการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขยะอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปใช้ทางการเกษตร คืนธรรมชาติสู่ธรรมชาติ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ ๑๒.๒.๓ เกิดทัศนียภาพที่สวยงามในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 14:04 น.