กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน โรงเรียนในเขตเทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 62– L7452 - 2 – 23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 91,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอซีกีน สาเร๊ะ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสลิล กาจกำแหง หัวหน้ากลุ่มงานหลักสูตรทันตสาธารณสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากผลการสำรวจด้านสภาวะสุขภาพช่องปาก ครั้งที่ 8 พบว่า ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คือร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่/คน และพบว่ามีสภาวะเหงือกอักเสบสูงกว่าการสำรวจในครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 จากร้อยละ 50.3 เป็นร้อยละ 66.3 ด้านพฤติกรรมทันตสุขภาพและการรับบริการสุขภาพช่องปากของนักเรียน ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อสภาวะเหงือกอักเสบคือ พฤติกรรมการแปรงฟันซึ่งพบว่าร้อยละของการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของเด็กอายุ 12 ปี ลดลงจากร้อยละ 53.9 เป็นร้อยละ 44.7 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ส่วนประเด็นพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวาน การกินลูกอม และการกินขนมกรุบกรอบ พบว่าเด็กดื่มน้ำอัดลมและกินขนมกรุบกรอบทุกวัน (สำนักทันตสาธารณสุข, 2561) ประกอบกับผลการสำรวจสุขภาพช่องปากจากระบบ HDC สาขาสุขภาพช่องปากของจังหวัดยะลา พบว่าร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 42.47 มีเด็กในอำเภอเมืองยะลามีฟันแท้ผุ 29.08 ส่วนผลสำรวจฟันผุในโรงเรียนเขตเทศบาลนครยะลาในปีการศึกษา 2561 พบว่านักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1, เทศบาล 2, เทศบาล 3, เทศบาล 4, เทศบาล 5 และเทศบาล 6 มีฟันผุร้อยละ 52.31, 48.95, 39.75, 38.87, 39.73 และ 46.45 ตามลำดับ (กลุ่มงานทันตกรรม เทศบาลนครยะลา, 2562) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความชุกของโรคฟันผุในนักเรียนยังสูงอยู่ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในนักเรียน เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุนับว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งในพื้นทีโรงเรียนเทศบาล 1 และเทศบาล 2 ทันตบุคลากรได้เข้าดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาล 4, เทศบาล 5 และเทศบาล 6 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนในการดูแลสุขภาพช่องปาก เสริมสร้างทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากคณะครูในโรงเรียนให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียน เพื่อสามารถให้คำแนะนำแก่นักเรียนได้ ซึ่งกิจกรรมในโครงการมีการอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพด้วยตนเองเพื่อสร้างความตระหนัก สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการดูแลตนเอง แนะนำกลุ่มเพื่อน ตลอดจนผู้ใกล้ชิด และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ดี ลดการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มวัยเรียน ในพื้นที่จังหวัดยะลาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปาก

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในระดับดี

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและเหมาะสมได้

ข้อที่ 2 ร้อยละ 100 ของนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและเหมาะสมผ่านเกณฑ์ทุกข้อของการประเมิน

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจฟัน

ข้อที่ 3 ร้อยละ 100 ของนักเรียนได้รับการตรวจฟัน

0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม

ข้อที่ 4 ร้อยละ 80 ของนักเรียนไม่มีรอยผุใหม่

0.00
5 ข้อ 5 เพื่อประเมินประสิทธิผลหลังจากดำเนินงานของโครงการฯ 3 เดือน

ข้อที่ 5 ร้อยละ 80 นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 91,940.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมการดำเนินงานเพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกิจกรรม เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับครู และตัวแทนนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ๆ ละ 20 คน รวมทั้งหมด 80 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน 0 4,800.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปาก โรงเรียนละครึ่งวัน เป้าหมาย นักเรียนและครูในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 400 คน 0 46,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสม ร่วมกันจัดทำโมเดลฟันจำลองเพื่อเป็นสื่อการสอนแปรงฟัน ระยะเวลาครึ่งวัน เป้าหมาย นักเรียนและครูในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียนๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 400 คน 0 41,140.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 ประเมินประสิทธิผลหลังจากดำเนินงานของโครงการฯ 3 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในเด็ก
  2. เป็นแนวทางการป้องกัน และการส่งต่อเพื่อให้เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษาตามความเหมาะสม
  3. การให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำกับโรงเรียนในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบรรจุเนื้อหาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไว้ในหลักสูตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2562 11:31 น.