กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธารน้ำทิพย์ร่วมพิชิตบุหรี่
รหัสโครงการ 60-L4129-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ธารน้ำทิพย์
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2560 - 18 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ธารน้ำทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.686,101.141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสุขภาพ เนื่องจากในบุหรี่มีสารพิษที่ทำเกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น นิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น สารพิษเหล่านี้ส่งผลให้เกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้ เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้นซึ่งโรคภัยที่เกี่ยวเนื่องมาจากการที่สูบบุหรี่ จะบั่นทอนสุขภาพและลดอายุของผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยแล้ว 5-10 ปี นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังส่งต่อบุคคลข้างเคียง โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำมีผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บสูง สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2557 พบว่า ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 54.8 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ร้อยละ 20.7 โดยเป็นผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 18.2 และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่นาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 2.5 ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก 17.8 ปี จำนวนบุหรี่เฉลี่ยที่สูบ 11.5 มวน/วัน (สรุปการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) จากการสำรวจสภาวะผู้สูบบุหรี่ในตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พบผู้สูบ บุหรี่ 318 คน คิดเป็นร้อยละ 12.97 (ข้อมูลจาก HDC เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560)
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงภัยคุกคามต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้าง จึงได้จัดทำ“โครงการธารน้ำทิพย์ร่วมพิชิตพิษบุหรี่”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมลด/เลิกการสูบบุหรี่

 

2 2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีเจตคติที่ดีต่อการเลิกสูบบุหรี่

 

3 3 เพื่อให้มีผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวบุหรี่เพิ่มมากขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
3 ประชาสัมพันธ์โครงการธารน้ำทิพย์ร่วมพิชิตพิษบุหรี่ 4.2 ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมครั้งที่ 1 1. จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ “กิจกรรมละลายพฤติกรรม” 2. ประเมินสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการตรวจวัดความดันโลหิต ระดับของชีพจร ดัชนีมวลกาย และทดสอบระดับการติดสานิโคติน 3. ให้ความรู้เรื่องบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่จากวีดิทัศน์ การบรรยายเรื่องสารพิษในบุหรี่โดยวิทยากรรับเชิญ 4. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การอภิปรายแสดงความคิดเห็น ข้อดี/ข้อเสียของการสูบบุหรี่ ถ้าเลิกสูบบุหรี่มีประโยชน์อย่างไร/อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ แนวทางแก้ไขปัญหา 5. สรุปผลการอภิปราย บรรยายสรุปคำแนะนำ วิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติตัวในการเลิกบุหรี่ เน้นการกระตุ้นความคาดหวังในความสามารถในตนเอง
กิจกรรมครั้งที่ 2 1. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
2. กิจกรรมกลุ่มให้อภิปรายถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับผลการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่ 3. รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์จากต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ และซักถามข้อมูลต่าง ๆ
4. กิจกรรมอภิปรายปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ และนาวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน


กิจกรรมครั้งที่ 3,4, 5 1. ผู้จัดโครงการพร้อม อ.ส.ม. ลงเยี่ยมบ้านพร้อมทั้งกระตุ้นเตือนและให้คำปรึกษาในเรื่องการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่ด้วยวาจา 2. ผู้จัดโครงการติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่โดยดูจากปฏิทินบันทึกการสูบบุหรี่ของแต่ละคน และสอบถามจากบุคคลใกล้ชิด กิจกรรมครั้งที่ 6
1. จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 2. จัดกิจกรรมประเมินสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการตรวจวัดความดันโลหิต ระดับของชีพจร ดัชนีมวลกาย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3. พิธีมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ 4. ผู้เข้าร่วมโครงการกล่าวขอบคุณและปิดโครงการธารน้ำทิพย์ร่วมพิชิตพิษบุหรี่
4.3 สรุปผลการการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่เพิ่มมากขึ้น 9.2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 9.3 ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการปฏิบัติตนในการลด/เลิกบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 15:03 น.