กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้ ชะลอ โรคไต แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3071-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุวดี หลีเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตติญา คงมาก
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิต มีผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 รายเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียออกทางหน้าท้องโดยในแต่ละปี ได้ใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาทมีผู้เสียชีวิตจากไตวาย 13,536 คน ประมาณ 1 ใน 3 ตายก่อนวัยอันควร อายุน้อยกว่า 60 ปี จากการรายงานของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ พบผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน   สถิติผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 50 คนและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 6 คน พบว่าผู้ป่วยทราบและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมาก่อน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ   เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต อันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง  มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการ ป้องกัน ชะลอ โรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกัน ชะลอโรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีที่1.ทำแบบทดสอบก่อนดำเนินกิจกรรม
    กิจกรรมที่1.1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ เจ้าหน้าที่และอสม.
      กิจกรรมที่1.2 ให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้
วิธีที่ 2. ให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยความดัน เบาหวาน ปี 2562     กิจกรรมที่ 2.1 ดำเนินกิจกรรมโครงการ ให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยความดัน เบาหวาน ปี 2562     2.1(1)ให้ความรู้ เรื่องโรคไต
    2.1(2)ให้ความรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง     2.1(3)ให้ความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/และภาวะแทรกซ้อนของโรค     2.1(4)ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมด้วยแบบทดสอบหลังการดำเนินกิจกรรม     2.1(5)ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม วิธีที่ 3 ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลังได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไต
      กิจกรรมที่3.1 ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเรื่องการประกอบอาหารในแต่ละวัน โดยใช้แบบทดสอบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ร้อยละ 50
2.ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง
3. ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคไตในผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 16:06 น.