กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเผชิญโรคระบาดจากโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย
รหัสโครงการ 62-L4118-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมควบคุมโรคตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กรกฎาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโกศล ไตรสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวันชัย บ่อเงิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 30,500.00
รวมงบประมาณ 30,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)
18.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายและยุงก้นปล้องเป็นพาหะนำโรค ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของชุมชนในตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยในปีพ.ศ.2561 ตลอดปี มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดปีจำนวน 6 ราย โรคมาลาเรียจำนวน 21 ราย และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและมาลาเรียในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่เป็นรังโรค และและในช่วงหลังเมษายน 2562 เริ่มมีฝนตกชุก ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงก้นปล้องมากขึ้น อาจมีแนวโน้มจะเกิดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันโรค     ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายและยุงก้นปล้องที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน ชุมชนของตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรียโดยทีมควบคุมโรค ปี 2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในทุกกลุ่มอายุ

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียลดลง

18.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในทุกกลุ่มอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

11 ก.ค. 62 กิจกรรมพ่นหมอกควันควบคมโรค 30,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประชุมวางแผนดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 3. ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต 4. ขอสนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานควบคุมไข้เลือดออกและมาลาเรีย ได้แก่ ทรายอะเบท น้ำยาพ่นหมอกควัน จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต 5. จัดซื้อวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ดำเนินการพ่น หมอกควันได้แก่ น้ำมันเบนซิลธรรมดา น้ำมันดีเซล จากงบประมาณในโครงการ และขอสนับสนุนบางส่วนจาก อบต.คีรีเขต ขั้นดำเนินการ 1. จัดประขุมทีมควบคุมโรค จำนวน 30 คน จำนวน 1 ครั้ง 2. กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการ โดยการจัดลำดับความเสี่ยง 2.1 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล้องในชุมชน พร้อมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2.2 สรุปผลความชุกของแต่ละพื้นที่ 2.3 จัดลำดับพื้นที่ดำเนินการ ก่อน – หลัง 3. รณรงค์ใส่ / แจก ทรายอะเบทในชุมชนทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล้อง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขทุก 3 เดือน 4. ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและยุงก้นปล้องตัวแก่ ในหมูบ้าน จำนวน 1 ครั้ง ขั้นประเมินผล 1. ประเมินการดำเนินงานโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.คีรีเขต และรพ.สต.บ้านศรีนคร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรีย ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรคและ เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน และองค์กรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 16:24 น.