กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการให้บริการศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพ (Drop in center)
รหัสโครงการ 60-L1478-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการเพือนสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2560 - 30 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางศรัทธาเพ็งพิศประธาน 2. นางสาวสมพรหวานทอง กรรมการ 3. นางสารีย์ศรีทิพย์ กรรมการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรุงพัฒน์ หอวิชยกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามยุทธศาสตร์การยุติปัญหาเอดส์และวัณโรคภายในปี 2573ได้มีกลยุทธ์ตามหลักบริการสุขภาพที่ต่อเนื่องเรียกว่า RRTTR (Reach – Recruit – Test – Treat - Retain) ประกอบด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการให้ความรู้ และชุดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจะได้รับการส่งต่อเข้าสู่บริการตรวจหาการติดเชื้อ การคัดกรองวัณโรคหากมีการติดเชื้อสามารถเข้าสู่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์และรักษาวัณโรค และการทำให้กลุ่มเป้าหมายคงอยู่ในระบบการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ที่มีสถานการณ์ติดเชื้อเป็นลบยังคงมีสถานการณ์ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่ง การดำเนินงานตามกลยุทธ์ ตามหลักบริการสุขภาพที่ต่อเนื่องต้องการการเชื่อมต่อระหว่างการบริการเชิงรุก ในชุมชนกับ ระบบบริการสุขภาพ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีศูนย์บริการชุมชน(Drop in Center : DIC) หรือหน่วยบริการสุขภาพในชุมชนที่ดำเนินงานเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นำพาเข้าสู่ระบบสุขภาพเพื่อประเมินสถานะ การติดเชื้อ เอชไอวี หรือวัณโรค และเข้าสู่ระบบการรักษา รวมทั้งการติดตาม ให้ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง กับระบบบริการสุขภาพ ซึ่งการให้บริการสุขภาพฯ ดังกล่าวดำเนินการโดยศูนย์บริการชุมชน (DIC : Drop in Center) ควรเป็นไปตามแนวทางหรือมาตรฐานการจัดบริการที่เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ครบถ้วน และต่อเนื่อง โดยตำบลละมอได้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเมื่อปี 2559 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละมอ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพ”และสำนักโรคเอดส์กระทรวงสาธารณสุขได้ประเมินผ่านเกณฑ์ระดับทองและยังมีหลายกิจกรรมที่ยังต้องพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับเพชร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1ศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพผ่านมาตรฐานระดับเพชร
  1. ศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพพัฒนาตามเกณฑ์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 90ของตัวชี้วัด
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเอดส์ รายใหม่

1ร้อยละของผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ในพื้นที่ลดลง

3 ข้อที่ 3ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

1 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1ศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพผ่านมาตรฐานระดับเพชร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเอดส์ รายใหม่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อที่ 3ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ประชุมคณะกรรมการพัฒนาศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพเพื่อจัดทำแผนพัฒนา 3. เปิดให้บริการศูนย์เพื่อนสุขภาพทุกวันศุกร์ 4. อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการในศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพ 6. ประชุมคณะกรรมการฯเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ 7. รายงานผลการดำเนินงานเพื่อรับการประเมินจากสำนักโรคเอดส์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพผ่านมาตรฐานระดับเพชร
  2. มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมพัฒนาศูนย์บริการเพื่อนสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 16:10 น.