กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L7892-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวี
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 13,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะอุเส็น โต๊ะสา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรรถพงษ์ แวสือนิ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ ๒,๓,๕,๗,๘ และหมู่ที่ ๙ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
  สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวี ตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ พบผู้ป่วย ๓๒๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๕๙๒.๒๗ ต่อแสนปชก. เสียชีวิต ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑.๘๕ ต่อแสนปชก. และตำบลนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย ๗๒ ราย เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอนาทวี และสถานการณ์ฯ ตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ มีจำนวนผู้ป่วย ๕ ราย อัตราป่วย ๒๒.๗๔ ต่อแสนปชก. และมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสภาพภูมิอากาศ ที่มีฝนตกตั้งแต่ต้นปี การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม-กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจังสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน เทศบาล หน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนผู้ป่วย/อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มีหรือลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,620.00 0 0.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ๑.การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง 0 13,620.00 -
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ๒.กิจกรรมการควบคุมโรค 0 0.00 -

๑.คืนข้อมูลสถานการณ์โรคสู่ชุมชนในเวทีประชุม   ๒.เขียนโครงการ เสนองบประมาณ
  ๓.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม   ๔.ดำเนินงานตามโครงการฯ   ๕.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร     ๒.ประชาชนได้รับความรู้และการป้องกันโรคไข้เลือดออก และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้     ๓.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2562 15:29 น.