กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ กินถูกโรค ออกกำลังกายถูกใจ ห่างไกลโรคเบาหวาน-ความดัน กลุ่มออกกำลังกายบ้านหารบัว
รหัสโครงการ 60-L3341-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2560 - 15 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,134.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนี เลี่ยนกัตวา และนางเจริญ คงสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ ๖๓ และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ ๘๐ ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึงร้อยละ ๑๐ และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก ๓อ.๒ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการสำรวจชุมชนหมู่ที่ ๙ บ้านหารบัว ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง พบว่าประชาชน ส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย และจากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือนด้วยวาจา พบว่า ในแต่ละครัวเรือนเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากการลงพื้นที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๕๐ ราย ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพแก่ประชาชนและการออกกำลังกาย จากความสำคัญข้างต้น นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษา หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพ กินถูกโรค ออกกำลังกายถูกใจ ห่างไกลโรคเบาหวาน-ความดัน” ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในการออก กำลังกาย การบริโภคอาหาร

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
ร้อยละ ๘๐

2 ข้อที่ ๒. เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน

ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ได้ ร้อยละ ๖๐

3 ข้อที่ ๓. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนหมู่บ้านหารบัว

ประชาชนสามารถปฏิบัติตนในการออกกำลังกายได้ร้อยละ ๖๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 15,134.00 2 15,134.00
15 มี.ค. 60 ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการออกกำลังกาย 60 7,500.00 7,500.00
16 มี.ค. 60 - 15 เม.ย. 60 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายไม้พลอง 0 7,634.00 7,634.00

๑. ขั้นเตรียมการ (Plan) ๑.๑ สำรวจ ศึกษาชุมชนในพื้นที่บ้านหารบัว หมู่ที่ ๙ ๑.๒ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล ๑.๓ ทำการประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอปัญหา ความจำเป็นและความต้องการ ๑.๔ ประชุมคณะดำเนินงานเพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๕ นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากผอ.รพ.สต.บ้านป่าบากและอาจารย์ผู้ดูแลรับผิดชอบ ๑.๖จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ ๑.๗ประสานงานกับคณะดำเนินงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินการและประชาสัมพันธ์โครงการกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๑.๘ ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้หอกระจายข่าวและป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งรายละเอียดโครงการแก่ประชาชน กระตุ้นเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมโครงการ
๑.๙ จัดเตรียมป้ายโครงการ เอกสาร บอร์ดให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโซนสี 3 สี


๒. ขั้นดำเนินการ (Do) ๒.๑ ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนบ้านหารบัว หมู่ที่ ๙ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ๒.๒ ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ดังนี้ ๒.๒.๑ แนะนำการบริโภคอาหารตามโซนสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง โดยสีเขียว หมายถึง บริโภคให้มาก สีเหลือง หมายถึง บริโภคได้ปานกลาง และสีแดง หมายถึง บริโภคแต่น้อย
๒.๒.๒ แนะนำการปฏิบัติตัวตามหลัก ๓ อ. บอกลา ๒ ส. โดย ๓ อ. คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย และบอกลา ๒ ส. คือ สูบบุหรี่ สุรา ๒.๒.๓ ลดหวาน มัน เค็ม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๒.๓ การออกกำลังกาย โดยการนำของนักศึกษา และแกนนำการออกกำลังกายในชุมชน สัปดาห์ละ ๓ วัน วันละ ๓๐ นาที ๒.๔ ตรวจสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการจัดโครงการ ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย ค่าความดัน ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวัดรอบเอว จำนวน ๒ ครั้ง คือ ก่อน และหลังดำเนินกิจกรรม ๓. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) ๓.๑ ประเมินผลการดำเนินการ ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๓.๓ นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และ อบต.ทุ่งนารี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ ๒.ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
๓.ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2560 09:31 น.