กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแกนนำป้องกันภัยโรคติดต่อใกล้ตัว ใกล้บ้าน เรือนเคียง
รหัสโครงการ 62-L1510-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งเกาะญวน
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพัตรา รามรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์การเรียนรู้ หมูที่ 6 บ้านพรุนายช้าง ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.416,99.718place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ส.ค. 2562 30 ส.ค. 2562 12,800.00
รวมงบประมาณ 12,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคระบาด (Epidemic) คือ สถานการณ์การติดเชื้อโรคหรือโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันในชุมชน ในถิ่น หรือในแหล่งหนึ่งแหล่งใดในอัตราสูงกว่าสถานการณ์ปกติที่ควรเป็น โดยการติดเชื้อนั้นลุกลามแพร่กระจายอยู่ในชุมชน ในถิ่น หรือในแหล่งนั้นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงจุดเริ่มต้นของโรค และสามารถแพร่กระจายลุกลามไปยังชุ่มชนอื่นๆที่อยู่ไกลๆออกไปได้หลายๆชุมชนหรือหลายๆสถานที่ อย่างเช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคฉี่หนู เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค ประกอบด้วย ตัวบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานที่ และการเกิดโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตของคน สังเกตได้จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 7 ธันวาคม 2561 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 78,762 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 119.23 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 105 ราย ซึ่งจังหวัดอยู่ลำดับที่ 41 ของประเทศ ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก จำนวน 595 ราย อัตราป่วย 92.52 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย และจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2551 – 2561 ของจังหวัดตรัง มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอ ปี 2561 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรก พบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอย่านตาขาว อัตราป่วย 131.7 ต่อแสนประชากร รองลงมาคืออำเภอหาดสำราญ อัตราป่วย 124.6 ต่อแสนประชากร และอำเภอเมือง อัตราป่วย 119.3 ต่อแสนประชากร ซึ่งจากสถานการณ์ของการเกิดโรคดังกล่าว มีโอกาสพบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จากสถานการณ์การเกิดโรคเกิดในกลุ่มอายุ 10 – 14 ปี มีอัตราป่วย 258.58 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี อัตราป่วย 195.95 ต่อแสนประชากร และกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี อัตราป่วย 160.41 ต่อแสนประชากร เป็นต้น ซึ่งการเกิดโรคระบาดในชุมชนนั้น จะต้องมีการควบคุมและกำจัดแหล่งรังโรคอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังตัวบุคคลและพื้นที่ในระแวกของการเกิดโรค ดังนั้นทาง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านทุ่งเกาะญวน ได้เห็นความสำคัญและตระหนักในการเกิดโรคระบาดในชุมชน จึงจัดโครงการสร้างภูมิป้องกันโรคไข้เลือดออก มือเท้าปาก อุจจาระร่วง และฉี่หนู โดยการเสริมความรู้ สร้างแกนนำ พร้อมขยายเครือข่าย เพื่อควบคุม ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคในชุมชนได้อย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้ 2. เพื่อสร้างแกนนำในการควบคุมป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ 3 เพื่อควบคุมการระบาดของโรค 4 เพื่อขยายเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไปยังชุมชนใกล้เคียง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้ 2. สามารถสร้างแกนนำในการควบคุมป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ได้ 3. โรคระบาดในชุมชนน้อยลง 4. สามารถขยายเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไปยังชุมชนใกล้เคียงได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 12,800.00 1 12,800.00
30 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้การสร้างแกนนำป้องกันภัยโรคติดต่อใกล้ตัว ใกล้บ้าน เรือนเคียง 60 12,800.00 12,800.00

1  เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติ 2  ประชุมชี้แจงการทำงาน เจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย 2.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียน 2.2 จัดเตรียมไวนิลโครงการ 2.3 ติดต่อวิทยากรประจำโครงการ 3  ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เพื่อขอความร่วมมือและสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ   4 จัดอบรมส่งเสริมความรู้และทักษะการป้องกันโรคระบาดในชุมชน       5 กิจกรรมทักษะการปฏิบัติ “ชีวีปลอดภัย ด้วยวิถีมือเรา” 6 กิจกรรม “ร่วมด้วยกัน สร้างแกนนำ ป้องกันโรคระบาด” 7 ขยายผลการสร้างแกนนำในการควบคุมป้องกันโรคระบาดในชุมชน 8 จัดเวทีสรุปและส่งคืนข้อมูลแก่ชุมชน 9 ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน โดยจนท.สาธารณสุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ร้อยละ 80 ของผู้ร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้ 2 สามารถสร้างแกนนำในการควบคุมป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ได้ 3 โรคระบาดในชุมชนน้อยลง 4 สามารถขยายเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไปยังชุมชนใกล้เคียงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2562 14:08 น.