กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สุดยอดผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หัวหน้ากลุ่มงานบริการด้ารปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลระแงะ
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ หัวหน้ากลุ่มงานบริการด้ารปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลระแงะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.311,101.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ ๑๐.๗ ในปี ๒๕๕๐ หรือ ๗.๐ ล้านคน เป็ฯร้อยละ ๑๑.๘ หรือ ๗.๕ ล้านคน ในปี ๒๕๕๓ และร้อยละ ๒๐.๐ หรือ ๑๔.๕ ล้านคน ในปี ๒๕๖๘ นับว่าอัตราการเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ(Aged Society)" เณ้วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุทั้งในด้านสุขภาพ สังคม และด้านเศรษฐกิจ อายุคาดเฉี่ยที่อายุ ๖๐ ปี (จำนวนปีเฮี่ยยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) และผู้หญิง ๒๑.๙ ปี เมื่อแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามช่วงวัย พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง(ร้อยละ ๕๘.๘) เป็นผู้สูงอายุวัยต้น(๖๐-๖๙ปี) ร้อยละ ๓๑.๗ เป็นผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ ๗๐-๗๙ ปี) และร้อยละ ๙.๕ เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ ๘๐ ปีขึ้นไป) ซึ่งเป็นวัยที่ต้องพึ่งพิงสูง อัตราส่วนการเป็นภาระวัยสูงอายุ หรืออัตราพึ่งพิงวัยสูงอายุ ในปี ๒๕๓๗ เป็น ๑๐.๗ เพิ่มขึ้นเป็น ๑๔.๓ ในปี ๒๕๔๕ และเพิ่มขึ้นเป็น ๑๖.๐ ในปี ๒๕๕๐ หมายความว่าประชากรวัยทำงาน ๑๐๐ คน ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ๑๖ คน จากการสำรวจของสำนักงานสิถิติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๐ พบว่า ร้อยละ ๖๙.๓ ของประชากรในกลุ่มอายุ ๖๐-๖๙ ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเป็น ๘๓.๓ ในกลุ่ที่มีอายุ ๙๐ ปี ขึ้นไปโดยภาวการณ์เจ็บป่วยโดยโรคเรื้อรัง ๖ โรค พร้อมกันถึง ร้อยละ ๗๐.๘ และหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะทุพพลภาพจากปัญหาสุขภาพ เป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ ร้อยละ ๑๘.๙ มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้นานกว่า ๖ เดือน เป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูงและต้องการคนดูแลตลอดเวลา ปัญหาสุขภาพปากและฟัน ผู้สูงอายุมีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน แม้จะมีโครงการฟันเทียมพระราชทานก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมดนอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันจากโรคในช่องปาก จึงมีความต้องการบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ เพื่อลดการสูญเสียฟันควบคู่กันไป การมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว จึงเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกคน อีกทั้งไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน ยิ่งเป็นสิ่งที่สังคมยกย่องชื่มชม
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลระแงะตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุสุขภาพดี ให้เป็นต้นแบบ ในการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเอง มีอายุยืนยาวอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุสุขภาพดีต้นแบบ

 

2 เพื่อสร้างกระแสให้ผู้สูงอายุและประชาชนเห็นความสำคัญของการดูแลส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้ผู้สูงอายุมี อายุยืนยาวอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชิวิตที่ดี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ๒. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ๓. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๔. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ๔.๑ คัดเลือกผู้สูงอายุที่เข้าประกวดชุมชนละ ๑ คน ๔.๒ จัดการประกวดผู้สูงอายุ พร้อมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุ ๔.๓ มอบเงินรางวัลและเกียรติบัตรให้กับผู้สูงอายุที่ชนะการประกวด ๕. ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ จะเป็นผู้สูงอายุต้นแบบของผู้มีพฤติกรรม การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้เป็นผู้มีสุขภาพดี เป็นแบบอย่างที่ดี ควรได้รับการแผร่เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ สังคม ชุมชน และครอบครัว เห็นความสำคัญและความมีคุณค่าของผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดความผูกพัน ความรัก ความอบอุ่ม สานสายใยรักแห่งครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2560 11:00 น.