กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ (กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก)
รหัสโครงการ 62-L4122-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเขื่อนบางลาง
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 19,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวหนึ่งฤทัย ชัยชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,101.309place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ซึ่งน่าสังเกตว่าในปัจจุบันการระบาดมิได้เกิดเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ยังคงมีการระบาดได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกทั้งที่บ้าน โรงเรียนและชุมชน ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนและความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันของจังหวัดยะลา จากศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินรับมือไข้เลือดออกจังหวัดยะลา กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 99.66 ต่อประชากรแสนคน (ผู้ป่วยสะสม 523 ราย) เป็นอันดับหนึ่งในระดับเขตสุขภาพที่ 12 และอันดับเจ็ดของประเทศ โดยอำเภอที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ อ.ยะหา อ.กรงปินัง อ.ธารโต อ.บันนังสตา อ.รามัน อ.กาบังอ.เมืองยะลา และอ.เบตง จ.ยะลา ในส่วนของอาการโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่มีไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีผื่นหรือจุดเลือดขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับถ้ามีไข้สูง 2-3 วัน ไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดในพื้นที่ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและสุขภาพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลเขื่อนบางลาง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

 

0.00
3 เพื่อให้การแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คณะกรรมการกองทุนอนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ 5-10 % หรือมากกว่า เพื่อรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
    1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    2. ประสานงาน รพ.สต.บ้านสันติ 1 ,อสม. ,ผู้นำชุมชน
    3. เตรียมอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรค
    4. ลงพื้นที่ให้คำแนะนำแก่ประชาชน และให้อุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรค
    • ทรายอะเบท
    • โลชั่นทากันยุง
    1. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
  3. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 10:57 น.