กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์กลุ่มเยาวชน ประจำปี พ.ศ.2562
รหัสโครงการ 62-L1475-01-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 27,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตรา ด้วงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้น่าเป็นห่วง กล่าวคือ อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่นลดลงจาก ๑๘-๑๙ ปี เป็นประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ๒๕๓๙: กรมอนามัย, ๒๕๕๒) จากผลการเฝ้าระวัง ของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จากปี ๒๕๔๙-๒๕๕๓ นักเรียน ม. ๒ ม. ๕ และ ปวช. ๒ มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์สูงขึ้น แม้ว่าจะมีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปี ๒๕๕๓ มีประมาณร้อยละ ๕๐ ของวัยรุ่นที่มีการใช้ถุงยางอนามัย
ผลกระทบประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือ การตั้งครรภ์ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ที่พบว่า แม่คลอดบุตรอายุ ๑๐-๑๙ ปี เพิ่มจากร้อยละ ๑๓.๙ ในปี ๒๕๔๗ เป็น ร้อยละ ๑๖.๒ ในปี ๒๕๕๓ และเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน ก็พบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก อัตรา ๕๕.๐ ในปี ๒๕๔๘ เป็นอัตรา ๕๖.๑ ในปี ๒๕๕๓ (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ๒๕๕๔) นอกจากนี้วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ปัญหาของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม ในปีงบประมาณ ๒๕62 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ตำบลนาข้าวเสีย ยังไม่พบอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังและป้องกันโดยทุกภาคส่วน อย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๗) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา 2. เพื่อให้กลุ่มเยาวชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3. เพื่อให้กลุ่มเยาวชนทราบถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
    1. จัดเตรียมทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
    2. อบรมให้ความรู้นักเรียนเรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัย
      อันควร
    3. ประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา
  2. ร้อยละ 80 กลุ่มเยาวชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  3. ร้อยละ 80 กลุ่มเยาวชนทราบถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและมีความตระหนักในการ   ปฏิบัติตน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2562 09:38 น.