กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี ปี2562
รหัสโครงการ 002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลเมืองรามันห์
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.เทศบาลตำบลเมืองรามันห์
พี่เลี้ยงโครงการ นายยะห์ยา สสอ.รามัน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร  ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลรามัน พบว่าอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ปี 2561 53 รายจากหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.40 เป้าหมายร้อยละ 75 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดแต่ยังพบปัญหาการมาฝากครรภ์ช้า ไม่ได้ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มาฝากตามสิทธิ ไม่เห็นความสำคัญไม่ตระหนักและตั้งครรภ์ไม่พร้อม อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 5 รายคิดเป็นร้อยละ 8.23 จากหญิงคลอดทั้งหมด 55 ราย ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 7 สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ขาดความรู้และไม่ตระหนัก แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกคลอดอย่างคุณภาพลูกเกิดรอดมีพัฒนาการตามวัย อีกทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็งทำให้การทำงานแม่และเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ เล็งเห็นความสำคัญปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ“ฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี ปี 2562”เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ เห็นความสำคัญในการดูแลตนเองในระหว่างการตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งคลอดและดูแลบุตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบให้มีสุขภาพที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไม่ตายจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ไม่ตายจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดบุตรน้ำหนักน้อย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. อัตราหญิงวันเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ร้อยละ80 2. ความสำเร็จอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 70

  1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามหญิงตั้งครรภ์/หญิงกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 80
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ ประชุมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
    1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ
          3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ     - สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
          - ให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ / หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุตร     - ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ขาดนัด/เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาร่วมกับอปทหรือแม่อาสา
    2. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
    3. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้สามารถดูแลตนเองและบุตรได้ร้อยละ 80
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  3. ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้จากการคลอดร้อยละ 0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2562 11:54 น.