กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 31 มกราคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 134,865.10 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดยะลา พบว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ลำดับที่ 6 ของประเทศ และลำดับที่ 1 ของเขต 12 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก(597 ราย) 113.76  ต่อแสนประชากรแสนคน และในเขตตำบลสะเตงนอก จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยทั้งหมด 12 ราย อัตราป่วย 36.9 ต่อแสนประชากรแสนคน ในช่วงเวลาเดียวกันปี 2562 มีรายงานผู้ป่วยมากกว่าปี 2561 : 3 เท่า คาดว่าในปี 2562 จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1,536 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 290.44 ต่อประชากรแสนคน ซึงสูงกว่าปี 2561 ที่มีผู้ป่วยจำนวน 503 ราย(ข้อมูล ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2562) และจะพบสูงในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้าน หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (15-24 ปี)  แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45 – 54 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก 3 – 4 เท่า เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว เรื้อรังทำให้เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย ที่รักษาได้ยาก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ ส่วนมากเมื่อป่วยมักซื้อยารับประทานเองหรือไปฉีดยาลดไข้ที่คลินิก ทำให้ไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุของไข้ ที่โรงพยาบาลแต่เนิ่นๆ จึงได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมไข้เลือดออกในชุมชนปีงบประมาณ 2562 ขึ้น โดยดำเนินการ ๒ กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ควบคุมยุงพาหะ ไม่พบลูกน้ำยุงลายในทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ และกิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมควบคุมการระบาด พ่นสารเคมีทำลายยุง ในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน โดยต้องเป็น ULV เท่านั้น และต้องพ่นสารเคมี 4 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7 และ 14 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณใกล้เคียงโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯเทศบาลเมืองสะเตงนอก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 60

 

0.00
2 2. เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 70

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 134,865.10 2 56,852.22
2 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ควบคุมยุงพาหะ ไม่พบลูกน้ำยุงลายในทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ 0 40,771.60 28,026.11
2 - 23 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาด พ่นสารเคมีทำลายยุง ในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน โดยต้องเป็นULVเท่านั้น และต้องพ่นสารเคมี 4 ครั้ง ในวันที่ 1, 3, 7 และ 14 0 94,093.50 28,826.11

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะเจ้าหน้าที่เพื่อหารูปแบบการทำโครงการ 2. จัดทำโครงการพร้อมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานตามโครงการ 3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1. ประสานการจัดทำโครงการกับสมาชิกเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอสม. พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินงานตามโครงการ 2. แบ่งหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบแต่ละหมู่บ้าน มีหน้าที่ควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยการใช้เครื่องพ่นหมอกควันในการกำจัดยุง แจกทรายอะเบท สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง 3. ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ในแต่ละหมู่บ้าน 4. ติดตามการเฝ้าระวังและควบคุมไข้เลือดออก 5. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 60 2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง ร้อยละ 70 2.ประชาชนมี ความรู้และพฤติกรรม 3 เก็บป้องกัน 3 โรค ร้อยละ 70

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 09:25 น.