กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 62-L4123-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง
วันที่อนุมัติ 18 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอกีเย๊าะ มูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 16,675.00
รวมงบประมาณ 16,675.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุข ซึ่งโรคดังกล่าวมีความอันตรายและเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของผู้หญิง โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. 2555 มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 4 รองจาก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ขณะที่ข้อมูลในปี 2558 ก็พบว่า หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ 14 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจและพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ในปี ๒๕๕7 เท่ากับ 66.10 ต่อ แสนประชากร และผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2557–2559) เท่ากับ 0.03 ต่อ แสนประชากร การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก มีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษา พบว่า การคัดกรองด้วยการทำ Pap smear และ VIA ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ในปี 2557 – 2559 พบว่า มีสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 30–60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 520 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smears จำนวน 278 คน คิดเป็นร้อยละ 53.46 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย ทั้งนี้เนื่องมาจากประชาชน ยังมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจและความจำเป็นในการประกอบอาชีพ อีกทั้งอาจเข้าใจว่าโรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคนเพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ดังนั้น เพื่อให้การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีวัยเจริญพันธุ์ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและพบผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มก่อนเป็นโรคและได้รับการรักษาได้อย่างทันถ่วงที โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

อัตราเพิ่มการสตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับบริการตรวจ PAP SMEAR เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 (เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว)

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและตระหนักในการสุขภาพของตนเอง

ร้อยละ 80 ของสตรี อายุ 30 - 60 ปีมีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,675.00 0 0.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 0 16,675.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30 -60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นส่งผลให้สามารถดำเนินงานเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพรวมทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 11:23 น.