กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3020-04-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอาแซ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้แนวทางการดำเนินงานที่มีชื่อว่า "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี" ซึ่งมีหลักการดำเนินงานคือ คัดกรองประชาชน 35 ปี ขึ้นไปและจำแนกเป็น กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย หลังจากนั้นดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 . (สูบบุหรี่ สุรา) เพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กระบวนการสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติโดยมุ่งเน้นที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคและมีการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้ปรัชญาและแนวคิดหลักในการพัฒนาวิถีชีวิตไทยให้ห่างไกลและปราศจากปัจจัยเสี่ยง มีปัจจัยเสริมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันและสุขภาวะของทั้งสังคมให้สามารถลดโรคและภัยสุขภาพโดยให้ประชาชน รับรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงภาวะเสี่ยงสามารถปรับพฤติกรรมควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้ ปี 2560 ได้มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่ พบว่า มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,037 คน ได้รับการคัดกรอง 1,033 คน ร้อยละ 99.61 พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 24.94 ป่วยเป็นโรคร้อยละ 7.36   โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลม่วงเตี้ย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลม่วงเตี้ยได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป็นโรคยังมีปัญหาอยู่คือ กลุ่มที่ควบคุมโรคไม่ได้ระดับรุนแรงปานกลาง (สีส้ม) ร้อยละ 3.49,3.88 และ 2.33 ตามลำดับ และระดับรุนแรงมาก (สีแดง) ร้อยละ 3.10,1.94 และ 2.71 ตามลำดับ ซึ่งถ้าไม่ดูแลเป็นพิเศษ กลุ่มเสี่ยงก็จะกลายเป็นกลุ่มเป็นโรคกลุ่มที่เป็นโรคที่ควบคุมโรคไม่ได้ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย อสม. และแกนนำ จึงเห็นความสำคัญของ "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี" และให้ความรู้รายบุคคลที่มุ้งเน้นในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจึงได้นำมาบูรณาการร่วมกันเป็นกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้ "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี" เป็นเครื่องมือในการจัดระดับความรู้รายบุคคลโดยการใช้กระบวนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกให้คำปรึกษาและคลินิกไร้พงโดยมีทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพ และ อสม. เป็นเครือข่ายในการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการ 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน ปี 2561" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 125 22,125.00 1 22,125.00
8 ต.ค. 62 รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 125 22,125.00 22,125.00

1.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม. แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่ 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย ตามปิงปองจราจร 7 สี เตรียมเอกสารแผ่นพับความรู้การส่งเสริมสุขภาพ 3.จัดประชุมกลุ่มให้ความรู้โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สูบบุหรี่ สุรา) 4.แยกกลุ่มเป้าหมายตามสีและแจ้งการนัดหมายให้กลุ่มเป้าหมายทราบเพื่อติดตามดูแลที่บ้าน 5.จัดทำ Focus Group เพื่อติดตามแยกตามกลุ่มสี ในแต่ละแวกบ้านที่กลุ่มเป้าหมายอาศัย 3 ครั้ง 6.แจ้งการนัดหมายให้กลุ่มเป้าหมายทราบเพื่อติดตามดูแลที่บ้าน 7.ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้านตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง x 3 ครั้ง 8.ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ กลายเป็นกลุ่มปาติ ร้อยละ 60 2.กลุ่มเสี่ยง ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการติดตามจาก อสม. และเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 95 3.กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามดูแลและส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 14:17 น.