กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฮาลาเกาะฮ์เพื่อสุขภาพสตรีตันหยง
รหัสโครงการ 62-L3020-04-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 24,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไอเซ๊าะ อาบู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการฮาลาเกาะห์เพื่อสุขภาพสตรีตันหยง กลุ่มเป้าหมายเป็นสตรีวัยทำงานตอนกลางและวันสูงอายุซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการทำงานเพื่อหารายได้ในครอบครัว จากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนด้านพฤติกรรมต่างๆ เช่น พฤติกรรมการเลือกอาหารเพื่อบริโภค การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ ความเครียด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมเหล่านี้จะมีผลต่อภาวะสุขภาพ เช่น เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน เช่น อาการปวดไหล่ ปวดแผ่นหลัง เอว ปวดตามข้อ เป็นต้น   จากการดำเนินงานการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ พบว่า แม่บ้านซึ่งเป็นสตรีวัยทำงานตอนกลางและวัยสูงอายุ เป็นวัยที่อยู่ในช่วงการทำงาน และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกายในทางเสื่อมลง ทำให้พบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและจากการสำรวจ พบว่ากลุ่มสตรีมีการออกกำลังกายน้อยกว่ากลุ่มชาย โดยมีพฤติกรรมการออกกำลังกายไม่เหมาะสมคือขาดการออกกำลังกายหรือ ออกกำลังกายนานๆ ครั้ง สาเหตุที่ประชาชนไม่ออกกำลังกายพบว่าในชุมชนมุสลิมนั้นสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากหลักปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่ไม่ให้มีการเปิดเผยตัวเองหรือแสดงท่าทางไม่เหมาะสมในที่สาธารณะและสตรีต้องไม่เปิดเผยร่างกาย ให้ผู้ชายเห็น จึงทำให้สตรีมุสลิมไม่กล้าออกกำลังกายโดยใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือออกกำลังกายในที่สาธารณะส่วนการเลือกอาหาร พบว่ากลุ่มแม่บ้านถือเป็นตัวหลักในการตัดสินใจเลือกอาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งอาหารที่สามารถได้ง่ายและเก็บได้นานจะเป็นอาหารที่กลุ่มแม่บ้านนิยมเลือกหาซื้อเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เช่น ปลาเค็ม ปลาส้ม บูดู ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสเค็ม และอาหารมัน หรือรสหวาน ซึ่งอาหารต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่อไป   จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาพบว่าประชาชนกลุ่มแม่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อเรียนศาสนาในพื้นที่โดยมีผู้นำสตรีมาเป็นวิทยากรสอนอ่านอัลกุรอ่าน และสอนหลักการทางศาสนา ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะมีเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มสตรีมุสลิมด้วยกัน ในประเด็นต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพของสตรีกลุ่มแม่บ้านเองและของสมาชิกในครอบครัว เช่น การเลือกอาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือน การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ พิษภัยจากบุหรีี จึงได้จัดทำโครงการฮาลาเกาะฮ์เพื่อสุขภาพสตรีตันหยง เพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและเพื่อให้มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ต.ค. 62 รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 60 24,100.00 24,100.00
รวม 60 24,100.00 1 24,100.00

1.ปนะชุมชี้แจงโครงการแกเจ้าหน้าที่และสามาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ทราบถึงโครงการ และชี้แจงคณะกรรมการมัสยิด ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม 2.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ดำเนินงานตามโครงการ   -ประชุม อสม.เพื่อฟื้นฟูความรู้ การแปลผลค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตางในเลือดและการติดตามให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่บ้าน   -รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเพิ่มเติม (มีการประชาสัมพันธ์ชักชวนแล้ว)   -จัดเตรียมวัสดุในการออกกำลังกายและจัดทำทะเบียนบันทึกสุขภาพสมาชิก   -ติดต่อประสานงาน จนท.รพ.สต.ม่วงเตี้ย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการแก่วิทยากรผู้นำสตรีและวิทยากรในการอบรมฟื้นฟูความรู้ของแกนนำการออกกำลังกายโดยวิธียืดเหยียด ยางยืด   -จัดกิจกรรมฮาลาเกาะห์ เรียนรู้ การดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาสัปดาห์ละครั้ง   -จัดการอบรมแกนนำสตรีในการออกกำลังกายโดยวิธียืดเหยียด และยางยืด   -จัดทำภาพประกอบการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการทบทวน เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง   -การถ่ายทอดท่าทางการออกกำลังกายแก่สมาชิกพร้อมแจกจ่ายภาพท่าทางการออกกำลังกายแต่ละวิธี เพื่อให้สมาชิกสามารถนำไปออกกำลังกายที่บ้านได้ด้วยตนเอง   -การติดตามเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำโดย อสม.เดือนละครั้ง   -แกนนำร่วมออกกำลังกายด้วยวิธียืดเหยียด ยางยืด ก่อนหรือหลังการเรียนศาสนา สัปดาห์ละครั้ง   -ร่วมออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน 4.การประเมินผลจากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5.การประเมินความรู้ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดย อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ม่วงเตี้ย 6.ประเมินสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจความดันโลหิต การกรวดน้ำตาลจากปลายนิ้ว ของผู้เข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการรวมกลุ่มของประชาชนกลุ่มแม่บ้านมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2.ประชาชนกลุ่มแม่บ้านมุสลิมมีการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต 3.ประชาชนกลุ่มแม่บ้านมีสุขภาพดี สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 15:45 น.