กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสวนผักสำหรับคนรักสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L5191-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านบ่อเตย
วันที่อนุมัติ 22 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกาญจนา อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสารเคมีตกค้างจากผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ ทั้งในห้างค้าปลีกชื่อดังและตลาดขายส่งขนาดใหญ่ จำนวน 158 ตัวอย่าง
56.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมี "อาหาร" ที่เพียงพอและมีคุณภาพ ถือเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ที่คนทุกคนไม่ว่า ยากดีมีจนควรเข้าถึง แต่ว่าในความเป็นจริงกลับพบการปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในอาหารได้ทั่วไป อาทิ ผัก-ผลไม้ จากการเปิดเผยของ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เมื่อเดือนต.ค. 2559 ระบุว่า ผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ ทั้งในห้างค้าปลีกชื่อดังและตลาดขายส่งขนาดใหญ่ จำนวน 158 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างถึงร้อยละ 56     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยเมื่อเดือน เม.ย. 2560 ว่า กระทรวงเกษตรฯ มียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อเข้าสู่ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน ซึ่ง 1 ในเป้าหมายคือ "มุ่งลดการใช้สารเคมีให้ได้ร้อยละ 10 ภายใน 5 ปี" ตัวชี้วัดคือการตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานต้องลดลงจากปัจจุบันร้อยละ 10 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจ ภายใน 5 ปี ดังนั้นการหาผักปลอดสารพิษมาประกอบอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตประจำวัน     สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายใน หมู่ที่ 1 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา  โดยภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่มีการบริโภคผักจากตลาดบางครั้งไม่เชื่อมั่นเรื่องของการใช้สารเคมีกำจัดสัตรู และประชาชนส่วนใหญ่ค่อยข้างจะมีภาวะของโรคเบาหวานความดันโลหิต ที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่เป็นภาวะเสี่ยงต่อโรค     ด้วยเหตุนี้ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ่อเตย ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา การบริโภคผักที่มีการใช้สารเคมี  จึงได้จัดทำโครงการสวนผักสำหรับคนรักสุขภาพ เพื่อลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของประชาชนบ้านบ่อเตยและมีความรู้และแนวทางในการจัดการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ     เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและสุขภาพประชาชนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืนชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ่อเตย จึงได้จัดทำโครงการสวนผักสำหรับคนรักสุขภาพ  ปลูกผักกินเองขึ้น ตามหลักทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภาย นอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

ร้อยละของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์และนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์และนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

100.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีปลอดจากภาวะโรคเบาหวานและความดันจากการบริโภคผักปลอดสารพิษ

ร้อยละของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ  ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีปลอดจากภาวะโรคเบาหวานและความดัน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 ก.ย. 62 อบรมประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ 20 12,300.00 12,300.00
1 - 30 ก.ย. 62 จัดทำแปลงสาธิต 20 37,700.00 37,700.00
รวม 40 50,000.00 2 50,000.00
  1. อบรมประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการสวนผักสำหรับคนรักสุขภาพ
  2. จัดทำแปลงสาธิต ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์และนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. ประชาชนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีปลอดจากภาวะโรคเบาหวานและความดันจากการบริโภคผักปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2562 11:26 น.