กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลปากบาง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5191-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายชมรม อสม. ตำบลปากบาง
วันที่อนุมัติ 22 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 135,217.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะฮ์ หัดเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 135,217.00
รวมงบประมาณ 135,217.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดเพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องควบคุมมาโดยตลอด เนื่องจากมียุงลายเป็นยุงพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกและมีแหล่งเพาะพันธุ์ทั้งในบ้านและนอกบ้านในภาชนะที่มีน้ำขังทุกชนิด ทำให้ในพื้นที่มีความชุกชุมของลูกน้ำเพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดสูงขึ้นเป็นประจำทุกปี สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา พบว่าในปี 2559 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 83 ราย เสียชีวิต 1 ราย ปี 2560 39 ราย ปี 2561 12 ราย และในปี 2562 (ตุลาคม 2561 – มิถุนายน 2562) พบผู้ป่วย จำนวน 15 ราย โดยพบกระจายอยู่ในทุกหมู่บ้าน พบมากในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคม เป็นต้นไป จนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วให้ทันต่อการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมโรค จัดเตรียมความพร้อมด้านงบประมาน บุคลากร อาสาสมัคร สารเคมีและวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงในการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ดังนั้น เครือข่ายชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปากบางจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกสามารถดำเนินการได้ทันต่อสถานการระบาดของโรคในปัจจุบันและครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาดได้รับการคุ้มครอง

ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาดได้รับการคุ้มครอง

100.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อไข้เลือดออก ไม่ให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้ลดลงหรือหมดไป ร้อยละของครอบคลุมพื้นที่แพร่เชื้อ

100.00
3 เพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อไข้เลือดออกไปสู่พื้นที่อื่นสามารถควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์

ร้อยละของสามารถหยุดยั้งการแพร่เชื้อ สู่หมู่บ้าน/ชุมชน ใกล้เคียง

100.00
4 เพื่อควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดยุงตัวเต็มวัย ลดความชุกชุมของยุงลาย
  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง
  • ความชุมชุมของยุงลายลดลง จำนวน 8 หมู่บ้าน
90.00
5 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคในระดับหมู่บ้านผู้ปฏิบัติงาน มีการป้องกันอันตรายจากสารเคมี

ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกครอบคลุมของหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้ปฏิบัติงานได้รับการป้องกันอันตรายจากสารเคมี ในการพ่นควบคุมยุงลาย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 135,217.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 62 ผลิตภัณฑ์สารเคมีในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัย 0 100,600.00 -
1 - 30 ก.ย. 62 ค่าชุดและอุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในการปฏิบัติงานของพนักงานพ่นเคมี 0 34,617.00 -
  1. ติดตามสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และร่วมกันหาแนวทางเพื่อดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
  2. ร่วมกันจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยให้น้อยลงหรือหมดไป
  2. สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคจากพื้นที่ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่พื้นที่อื่นและพื้นที่ใกล้เคียง
  3. สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคและแกนนำชุมชนมีความเข้มแข็งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบยั่งยืน
  5. มีการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับตำบล/หมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2562 10:34 น.