กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในชุมชน และการป้องกันตนเองแก่ผู้จัดการมัยยิตในชุมชนให้ห่างไกลจากวัณโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในชุมชน และการป้องกันตนเองแก่ผู้จัดการมัยยิตในชุมชนให้ห่างไกลจากวัณโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 62-L5312-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มีนาคม 2563
งบประมาณ 56,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารัญย์ มัจฉา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการตายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก สาเหตุที่ทำให้วัณโรคกลับมามีปัญหาใหม่ทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดของเอดส์ ความยากจน และการอพยพย้ายถิ่น และแรงงานเคลื่อนย้าย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๖ องค์การอนามัยโลกก็ได้ประกาศให้วัณโรคอยู่ในภาวะฉุกเฉินสากล และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ๑ ใน ๓ ของ ประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคแล้ว ความชุก (prevalence) ของผู้ป่วยวัณโรคมีประมาณ ๑๔.๔ ล้านคน (๒๑๙ ต่อแสนประชากร) ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังแพร่เชื้อ (highly infectious) และแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ (incidence) ประมาณ ๙.๑๕ ล้านคน (๑๓๙ ต่อแสนประชากร) โดยร้อยละ ๙๕ อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละประมาณ ๑.๖๕ ล้านคน (๒๕ ต่อแสนประชากร) (ร้อยละ ๙๘ อยู่ในประเทศที่ยากจน) จากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ ในกลุ่ม ๒๒ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค มีจำนวนผู้ป่วยรวมกันประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยทั่วโลก และได้มีการจัดอันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยมากตามลำดับ พบว่า ๓ ประเทศแรกที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในอันดับที่ ๑๘ ซึ่งจากการคำนวณทางระบาดวิทยา ในรายงานขององค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ประเทศไทยน่าจะมีความชุก (prevalence) ของวัณโรค ซึ่งหมายถึง มีผู้ป่วยวัณโรคทั้งสิ้น ประมาณ ๑๒๕,๐๐๐ ราย (๑๙๗ ต่อแสนประชากร) โดยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ทุกประเภท ปีละ ๙๐,๐๐๐ ราย (๑๔๒ ต่อแสนประชากร) และประมาณ ๔๐,๐๐๐ ราย เป็นผู้ป่วยที่เสมหะบวก (๖๒ ต่อแสนประชากร) เสียชีวิตปีละ ๑๓,๐๐๐ ราย (๒๐ ต่อแสนประชากร)
จังหวัดสตูลมีผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทได้รับการขึ้นทะเบียน ปี พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๒ จำนวน ๑๖๖, ๑๖๔, ๑๕๗, ๒๑๒, ๑๑๔ และ ....ราย ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มการขึ้นทะเบียนใหม่ลดลง และในระหว่างนี้ยังพบผู้ป่วยขาดยาถึงร้อยละ ๒.๔, ๓.๐, ๕.๐, ๒.๓, ๓.๕ และ... ตามลำดับ และในอำเภอละงู พบผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนเสมหะเป็นบวก (New m+) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๕๙ จำนวน ๔๑ และ ๒๔ ราย และยังพบผู้ป่วยขาดยาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก ร้อยละ ๒.๔ เป็น ๖.๒ ในช่วงเวลาดังกล่าว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษาในปี ๒๕๖๐,๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒ จำนวน ๗,๘ และ ๑๒ ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการคัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยในบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แรงงานต่างด้าว และผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรค และจากข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยวัณโรคในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรคในกลุ่มผู้นำศาสนาหรือผู้จัดการมัยยิตในชุมชน จำนวน ๔ ราย ที่ป่วยเป็นวัณโรค จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนาระบบบริการ การดำเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการอบรมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในชุมชน และการป้องกันตนเองแก่ผู้จัดการมัยยิตในชุมชนให้ห่างไกลจากวัณโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน

0.00
2 เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนฝึกและคัดกรองค้นหาวัณโรคตามแนวทางการคัดกรอง

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรค

0.00
3 เพื่อให้ผู้จัดการมัยยิตในชุมชนสามารถป้องกันตนเองจากโรควัณโรคและเอดส์ได้

ผู้จัดการมัยยิตในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในและสามารถป้องกันตนเองจากโรควัณโรคและโรคเอดส์ได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 56,100.00 4 56,100.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน 10 1,700.00 1,700.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องวัณโรค แนวทางป้องกันและรักษา/ฝึกทักษะการคัดกรองวัณโรคในชุมชน 120 37,200.00 37,200.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้จัดการมัยยิตในชุมชน 80 17,200.00 17,200.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 คัดกรองวัณโรคในชุมชน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรค 2.ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน 3.ผู้จัดการมัยยิตในชุมชน สามารถป้องกันตนเองจากโรควัณโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2562 14:11 น.