กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกสู่ชุมชน ทุกกลุ่มวัย พื้นที่ศูนย์บริการสุขภาพ ชุมชนชลาทัศน์ ในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 60-L7250-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนชลาทัศน์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 118,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นางอภิชญา ชุมเปีย)ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หน่วยบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสุขภาพชุมชนชลาทัศน์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สงขลา เป็นหน่วยงานให้บริการสุขภาพชุมชน ๔ มิติ แบบองค์รวมในพื้นที่ 10 ชุมชนได้แก่ ชุมชนวิชราทะเลหลวงดอกรักษ์, ชุมชนวชิราซอยคี่, ชุมชนวชิราทะเลหลวง, ชุมชนวชิราซอยคู่, ชุมชนพิเศษทหารเรือ, ชุมชนพิเศษ ตชด., ชุมชนสนามบิน, ชุมชนบาลาเซาะห์, ชุมชนเก้าเส้ง และชุมชนหลังรพ.จิต รับผิดชอบประชากรจำนวน 10,657 คน จำนวน 3,713 หลังคาเรือน มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลสงขลา และโรงเรียนวชิรานุกูล ดูแลศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ๒ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนเก้าเส้ง และสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย ทร.15 มีวัดรับผิดชอบจำนวน 2 วัด คือวัดแจ้ง มีพระ 18 รูป และวัดดอนรัก มีพระ 10 รูป รวมทั้ง 1 มัสยิดในชุมชนเก้าเส้ง จากผลการทำประชาคมหมู่บ้านร่วมกับ อสม. ในเขตพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชน พบประเด็นปัญหาของชุมชนดังนี้ ชุมชนวชิราทั้งหมด (ดอกรักษ์, คี่, ทะเลหลวง, คู่) มีปัญหาของการจราจร รถติด จอดรถไม่เป็นระเบียบทั้งในซอยและถนนหลักโดยเฉพาะในช่วงค่ำ มีสิ่งกีดขวางบนถนนในซอย, พบการฉกชิงวิ่งราวช่วงกลางคืน, มีการเสพและขายยาเสพติดตามบ้านเช่ามีการมั่วสุมยา ด้านสิ่งแวดล้อม มีขยะในคูน้ำสกปรก น้ำในคูไม่ไหลมีสิ่งปฏิกูลมากก, การจัดวางถังขยะเทศบาลมีจำนวนน้อยไม่เหมาะสม, มีหนูและแมลงสาปจำนวนมากมาถ่ายมูลในบ้าน ปัญหาการทำประชาคมหมู่บ้านในชุมชนพิเศษ ตชด. พบว่ามีลูกน้ำยุงลาย และมีขยะอุดในคูระบายน้ำตัน ปัญหาชุมชนเก้าเส้ง พบประเด็นหลักๆ ดังนี้ พบเด็ก0-6 ปี มีปัญหาโภชนาการบกพร่อง และปัญหาสุขภาพ(ฟันผุ/เหา) มีแผลพุพองตามผิวหนัง ส่วนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีขยะและสัตว์เลี้ยง เช่น แมว/หนู มาถ่ายมูล ปัญหาครอบครัว พ่อแม่ไม่สนใจเด็ก มัวแต่เล่นการพนัน, ผู้สูงอายุขาดการดูแล ยังต้องเป็นผู้ดูแลหลานเล็กๆ แทนพ่อแม่, เด็กวัยรุ่นท้องก่อนวัยอันควร, ชาวบ้านไม่สนใจสุขภาพตนเอง/คนในครอบครัว, วัยรุ่นลองยาเสพติด/หารายได้โดยการขายยาเสพติด มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชนมากที่ขาดการไปรับยาต่อเนื่อง ชุมชนพิเศษทหารเรือพบปัญหาการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องการให้มีการแจกจ่ายทรายอะเบท และการขุดลอกคูน้ำ ปัญหาแฟลตทหารเรือ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องการให้รักษาต่อเนื่อง จากปัญหาข้อมูลดังกล่าวศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่จะดูแลส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเชิงรุกสู่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมทั่วถึงจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนทุกกลุ่มวัย

1.1 ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 1.2 ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์มาตรฐาน 5 ครั้ง 1.3 ร้อยละ 100 ของมารดาหลังคลอดและบุตรได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง

2 2. เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

2.1 ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 0-6 ปี ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2.2 ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัย 2.3 ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการได้รับการรักษาส่งต่อ

3 3. เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

3.1 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20
3.2 ค่าดัชนีลูกน้ำไม่เกินเกณฑ์ (HI

4 4. เพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

4.1 ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ 4.2 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4.3 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่า ร้อยละ 10
4.4 กลุ่มโรคเรื้อรังเบาหวานความดันที่รับการรักษาที่PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรคร้อยละ 90 4.5ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อน น้อยกว่าร้อยละ 5 4.6 ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ 4.7 ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 4.8 กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ(ด้อยโอกาส)ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพ ร้อยละ 80

5

5.1 ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน ADL/พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ > ร้อยละ 90 5.2 ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับการเยี่ยมดูแล ตามเกณฑ์

6

5.3 ร้อยละ 100 ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว(ขาขาด)ได้รับบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ จนท. อสม. แกนนำสุขภาพ
  2. คัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
  3. จัดกิจกรรมค้นหาและดูแลสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด และบุคคลในครอบครัว
  4. กิจกรรมค้นหาและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0-6 ปี ในชุมชน
  5. กิจกรรมค้นหาและรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการและในชุมชน
  6. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SHG และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส. ในในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง
  7. กิจกรรมติดตามเยี่ยมคุณภาพและดูแลรักษาในผู้ป่วยวัณโรค
  8. รณรงค์สร้างกระแสการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเชิงรุกสู่ชุมชน
  9. กิจกรรมตรวจคัดกรองและติดตามเยี่ยม ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดเตียง และผู้ด้อยโอกาส
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจประเมินคัดกรอง และมีความรู้ความเข้าใจป้องกันการเกิดโรค
  2. ลดผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่
  3. ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการตรวจเยี่ยมติดตามการดูแลสุขภาพ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  4. ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสภาพแวดล้อมลดการเกิดโรคติดต่อในชุมชน
  5. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการใกล้บ้าน และมีสุขภาวะที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 14:04 น.