กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย
รหัสโครงการ 62-L2479-3-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2562 - 30 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 16,605.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอปือเซาะ เจ๊ะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว
ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก ปัจจุบันเด็กๆ นิยมรับประทานขนมคบเคี้ยวเป็นจำนวนมาก ในท้องตลาดมีขนมจำหน่ายมากมาย หลายชนิด , ลูกอมต่างๆ และเด็กๆ ติดขวดนม เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ เป็นโรคที่มีอัตราสูงในทุกกลุ่มอายุและก่อให้เกิดผลเสียต่อการเคี้ยวอาหาร และสุขภาพโดยรวม โรคฟันผุเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ด้วย พฤติกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นในช่วงปฐมวัย ด้วยการบ่มเพาะพฤติกรรม การทำความสะอาด และการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพและไม่เสี่ยงต่อฟันผุ ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันโรคฟันผุ ได้ด้วยตนเอง โครงการดูและสุขภาพในช่องปากให้แก่เด็ก
สุขภาพช่องปากเด็กมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพทั่วไปของเด็ก แต่ปัจจุบันพบเด็กเล็กอายุ 2-5 ปีเป็นโรคฟันผุเกือบทุกคน บางคนฟันผุเกือบทั้งปาก ทำให้เด็กๆ ต้องทนทุกข์ทรมานจากการปวดฟันหรือ เจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคฟันผุ อันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กในระยะยาว ซึ่งหากครูพี่เลี้ยง และผู้เลี้ยงดูเด็กที่บ้านร่วมมือกันช่วยดูแลเด็กอย่างเหมาะสม จะมีส่วนช่วยให้เด็กเป็นโรคฟันผุลดลงการที่เด็กมีสุขภาพฟันดี จะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพกายดี และสุขภาพจิตที่ดีด้วย
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพ ช่องปากการให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผลทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบูกิตได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว การที่เด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็กการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลอดภัยจากปัญหาสุขภาพช่องปากเนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กมากที่สุด จากการสรุปข้อมูลภาวะช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย ประจำปีงบประมาณ25๖๑ เด็กที่เกิดโรคฟันผุร้อยละ 82.81ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย ตระหนักถึงความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจตลอดจนทักษะที่จำเป็นในการดูแล สุขภาพช่องปากจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,605.00 0 0.00
??/??/???? ให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนทักษะจำเป็นในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัย 0 16,605.00 -
??/??/???? ทดลองและสาธิตวิธีการแปรงฟัน 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ ๑.ประชุมพิจารณาโครงการ ๒.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๔.ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำหนดกิจกรรมโครงการ ๕.ดำเนินตามโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๖.สรุปประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจตลอดจนทักษะจำเป็นในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ๒.ลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 2–5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และชุมชนในการป้องกันโรคฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ 2-5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2562 00:00 น.