กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะพลาสติกและโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนเหนือคลอง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเหนือคลอง
วันที่อนุมัติ 16 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี บิลหีม ประธานแกนนำสุขภาพ รพ.สต. บ้านเหนือคลอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการควาสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้ว่าจังหวัดสตูลจะมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครกงารอาหารสะอาด รสชาติอร่อยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่มีการปนเปื้อนมาจากกับภาชนะบรรจุอาหาร "โฟม" ที่นยิยมใชกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหารซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรรีนออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่มลูกหมากและมะเร้งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร้งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤทธิ์ทำลายไขในกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท เป็นสารทำลายระบบสืบพันธ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ต้นปีของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีประมาณเพิ่มขึ้นอย่างตอเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ พบว่า มีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทนทาน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี สร้างปัญหาใการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังานต้นทุนสู.กำจัด เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกช่องทางหนึ่ง ดังนั้น ชมรมแกนนำสุขภาพ รพ.สต.บ้านเหนือคลอง ได้เล็.เห็นความจำเป็นจะต้องจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร และเป็นหน่วยงสนนำร่องในการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์โฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ ม.8 ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป้นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 -ประชาชนร้อยละ 90 ของพื้นที่ได้รับความรู้ และตระหนักถึงอันตรายของโฟม -ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งของการใช้โฟมบรรจุอาหาร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : -ประชาชนร้อยละ 90 ของพื้นที่ได้รับความรู้ และตระหนักถึงอันตรายของโฟม -ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งของการใช้โฟมบรรจุอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีการดำเนินงาน 1.ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทาง ขั้นตอน รายละเอียดการดำเนินงานให้      ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 2.จัดทำแผนโครงการ เพื่อขอรับงบสนับสนุนงบประมาณ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 4.ติดต่อประสานงานผู้นำชุมชนในพื้นที่ และวางแผนดำเนินโครงการ 5.เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 6.เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ 7.จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน กลุ่มร้านค้าเป้าหมาย เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุและเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟม      ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 8.ดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนด 9.สรุปผล วิเคราะห์ ประเมินผล เมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงอันตรายจาการใช้ภาชนะโฟมโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ลปอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ กับการลดละ ลเิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2562 10:01 น.