กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 10 ตำบลควนกาหลง (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 10
วันที่อนุมัติ 16 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามินล๊ะ ปะดุกา ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 10
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาไข้เลือดออกเป็นโรค ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนและโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ       คณะกรรมหมู่บ้าน หมู่ที่ 10 ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน ตำบลควนกาหลง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก ประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลาย 2.เพื่อให้ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องและให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออก

1.เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ80 2.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ทุกวันศุกร์ โดยการประชาสัมพันธ์ที่มัสยิด และประกาศเสียงตามสายที่วัด 3.ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายของตนเองในครัวเรือนเพื่อตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนกาหลง 2.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ทรายอะเบท เพื่อใช้รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 10
5.ดำเนินโครงการ ลงพื้นที่เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ให้คำแนะนำการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยการคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง
6.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง 2.ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติตัวในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกมากยิ่งขึ้น 3.ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องและให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4.ประชาชนเห็นความสำคัญตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2562 10:06 น.