กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันแการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในฤดูกาลระบาด ครั้งที่๒ ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาสมัครพ่นหมอกควัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 25๖๒ ถึงวันที่ 18 กันยายน 25๖๒ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,515 ราย คิดเป็นอัตราป่วย  224.11 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย  อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ  0.15  อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.07 สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของอำเภอไม้แก่น ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น ๓๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย  37.66 ต่อประชากรแสนคน สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของรพ.สต.บ้านป่าไหม้ และรพ.สต.รังมดแดง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด จำนวน ๔๑ ราย อัตราป่วย 840.34 ต่อประชากรแสนคน  กลุ่มอายุที่ พบสูงที่สุดคือ กลุ่มอายุ ๒๕-๓๔ ปี และ กลุ่มอายุ ๕-๙ ปี ซึ่งทั้ง ๒ กลุ่ม พบจำนวนผู้ป่วยเท่ากัน คือ กลุ่มละ ๓ ราย รองลงมา คือ กลุ่ม อายุ ๑๕-๒๔ ปี และกลุ่มอายุ ๓๕-๔๔ ปี พบผู้ป่วย เท่ากัน คือ กลุ่มละ ๒ราย
    ยุทธศาสตร์การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่สำคัญประการหนึ่งคือการ  ควบคุมลูกน้ำยุงลาย ดัชนีลูกน้ำยุงลายจะต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่จากผลการประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายของตำบลดอนทราย  ในรอบที่ผ่านมา พบว่า หมู่ ๑ บ้านป่าไหม้ และหมู่ที่ ๓ บ้านละเวง มีค่าดัชนี ลูกน้ำยุงลายเกินเกณฑ์ มาตรฐาน เป็นผลให้ปีที่ผ่านมา หมู่ ๑ บ้านป่าไหม้มีผู้ป่วยมากที่สุดในตำบล ดอนทราย อีกทั้งประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการกำจัดและสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านตัวเอง การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผล ต้องอาศัยความร่วมมือ  ร่วมใจจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน  ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกหลังคาเรือน  อย่างต่อเนื่อง  โดยเน้นให้มีการดำเนินงานให้มีความครอบคลุมมากขึ้น มีการนำระบบแผนที่หมู่บ้านมาใช้และช่วยในการประเมินผลและควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคลงได้ อีกทั้งยังต้องสร้างความตระหนักให้กับชุมชน ท้องถิ่น การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การป้องกันโรคได้ผลมากยิ่งขึ้น กลุ่มอาสาสมัครพ่นหมอกควัน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในช่วงฤดูกาลระบาด ปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒ ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจาก เป็นปีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้แพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก

 

0.00
2 2.เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

 

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก

 

0.00
4 4.เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกรอบที่ 2 ประจำปี 2562

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ออกปฏิบัติการพ่นยุงเมื่อได้รับแจ้งเคสผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๒ แห่ง (4 หมู่บ้าน) 0 15,000.00 -

-ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมทีมอาสาสมัครพิชิตยุงลาย 2.เขียนโครงการตามสภาพปัญหาในพื้นที่ 3.นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ -ระหว่างดำเนินการ 4.ดำเนินการพ่นยุงในพื้นที่ ตามการได้รับแจ้งการป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ 5.ทำการพ่นในโรงเรียนจำนวน 3 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง (ก่อนวันเปิดภาคเรียน และช่วงการระบาดในโรงเรียน) -ขั้นประเมินผล 6.ไม่มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่เพิ่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชมรมอาสาสมัครพิชิตยุงลายออกปฏิบัติการพ่นหมอกควันหลังได้รับแจ้งจาก รพสต. ได้โดยเร็ว
    1. ระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
    2. .กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของชมรมฯ(โดยใช้แบบสอบถาม)  
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2562 15:30 น.