กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
รหัสโครงการ 63-L5215-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเขารูปช้าง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาจรี ปาณะศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 500,000.00
รวมงบประมาณ 500,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุงลายเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิด สองสปีชีส์ที่โดดเด่นที่สุดที่ส่งผ่านไวรัส คือ Aedes aegypti และ Aedes albopictus ซึ่งส่งผ่านไวรัสที่ก่อโรคไข้เด็งกี ไข้เหลือง ไข้ไนล์ตะวันตก ชิคุนกุนยา และสมองอักเสบม้าตะวันออก เป็นต้น การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้มักมีอาการไข้ และสมองอักเสบในบางกรณีซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต ยุงลายจะวางไข่ในภาชนะที่มีขอบ มีผนัง เนื่องจากแม่ยุงลายเวลาวางไข่ต้องมีผนังไว้เดินไต่ และวางไข่เหนือผิวน้ำประมาณ 1 เซนติเมตร ยุงลายจึงไข่เหนือน้ำ ไม่ได้ไข่ในน้ำเหมือนยุงชนิดอื่น ห้วยหนองที่มีน้ำขังตามธรรมชาติจึงไม่ใช่แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายจะวางไข่ในน้ำใส น้ำนิ่ง ส่วนลูกน้ำที่พบในน้ำเน่า ในคู ที่นำมาเลี้ยงปลากัดนั้น ส่วนใหญ่เป็นลูกน้ำยุงรำคาญ ไม่ใช่ลูกน้ำยุงลาย ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบ้าน มีเหยื่อให้ดูดเลือดอยู่แล้ว และยังมีที่ให้วางไข่ ที่ให้เกาะพักอีกด้วย จึงไม่จำเป็นจะต้องบินไปหากินไกลๆ ยุงลายชอบเกาะพักในที่มืด อับชื้น และมักจะกลัวแดดกลัวลม จะไม่บินไปวางไข่หรือกัดคนกลางแจ้งเด็ดขาด ภาชนะที่วางกลางแดด กลางแจ้งจะไม่เป็นที่วางไข่ของยุงลาย การจัดบ้านให้สว่าง โล่ง โปร่ง ลมพัดดี ก็จะทำให้ยุงลายไม่มากัดคนในบ้าน โรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักมีการระบาดเป็นวงกว้างในฤดูฝน โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน ที่มีฝนตกกะปริดกะปรอย จะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนตกไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรยุงลายเป็นอย่างดี การป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมความพร้อม ควบคุม กำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงฤดูระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ ปัจจัยการระบาด

ที่สำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่การเพิ่มจำนวนประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามภาชนะขังน้ำ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกอย่างรวดเร็ว
      ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้างขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เพื่อลดโอกาสการถูกยุงลายกัด ลดความเสี่ยงของประชากรในชุมชนต่อการติดเชื้อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40000 500,000.00 1 431,143.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค 40,000 500,000.00 431,143.00
  1. สำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  2. เขียนและเสนอโครงการ
  3. ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน   3.1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 1 ครั้ง/ปี ครั้งละ 30 คน   3.2 รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 10 ครั้ง/ปี ครั้งละ 50 คน   3.3 กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส 1ครั้ง/ปี ครั้งละ 300 คน   3.4 กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย กรณีพ่นเพื่อควบคุมโรคโดยพ่นสารเคมีภายในรัศมี 100
        เมตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน กรณีพ่นเพื่อป้องกันโรค พ่น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ตามพื้นที่กำหนด   3.5 กิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย
        3.5.1 อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 ครั้ง/ปี ครั้งละ 70 คน     3.5.2 ประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย 1 ครั้ง     3.5.3 ประกวดภาพวาดการป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค   3.4 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/ปี ครั้งละ 30 คน
  4. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  2. ประชาชนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2562 14:26 น.