กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5251-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 148,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวีณา ขวัญหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามมาตรา ๑๘(๙) และมาตรา ๔๗ โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลสำนักขาม ได้ตอบรับนโยบายและได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕4 เป็นต้นมา ซึ่งการบริหารงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ใช้แนวทางการดำเนินงานที่ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ และค้นหาปัญหาทางด้านสุขภาพรวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพโดยชุมชน และเพื่อชุมชนเอง คณะกรรมการบริหารกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ บุคลากรทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ จะต้องพัฒนาศักยภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขามให้มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร อย่างน้อย ๓ ประการคือ บรรลุเป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคนและเป้าหมายของระบบการพัฒนาองค์กร อดีตที่ผ่านมาการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพ องค์กรภาคประชาชน ชุมชนไม่ได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขามมีการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม มีระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล มีคุณภาพและมีความยั่งยืน พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้งในด้านการบริหารงานกองทุนฯ กฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและ การจัดทำแผนสุขภาพ การพิจารณากลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนฯให้เกิดประสิทธิภาพ.

1.คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

1.มีการประชุมกรรมการ เพื่อพิจารณาและติดตามงาน อย่างน้อย4 ครั้ง/ปี 2.โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอนุมัติอย่างน้อย 80%

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อจัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์สนับสนุนการทำงานกองทุนฯ

1.วัสดุสำนักงานฯสำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯถูกซื้อตามแผนงานที่วางไว้ 2.ครุภัณฑ์สำหรับบริหารกองทุนฯถูกจัดซื้อตามแผนงานที่วางไว้

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 193 74,541.00 4 20,341.00
22 ต.ค. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ครั้งที่1/2563 49 20,125.00 14,125.00
29 ต.ค. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ครั้งที่1/2563 30 10,450.00 -
29 ต.ค. 62 ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบระบบการเงินและบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ครั้งที่1/2563 0 1,200.00 1,200.00
5 พ.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯ ครั้งที่2/2563 30 10,450.00 -
5 พ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบระบบเงินและบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ครั้งที่2/2563 0 1,200.00 1,200.00
13 พ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯ ครั้งที่2/2563 28 13,300.00 -
19 พ.ย. 62 จัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์ 6 รายการ 0 3,816.00 3,816.00
21 พ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯ ครั้งที่3/2563 28 13,300.00 -
28 พ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม ครั้งที่4/2563 28 700.00 -

กิจกรรมที่ 1.อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการและคณะทำงานกองทุนฯ กิจกรรมที่ 2.ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน กิจกรรมที่ 3. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลสำนักขามประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 4. จัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม
กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาศักยภาพกองทุนสุขภาพตำบล (Hm)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขามได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ สามารถบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. แผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 3.กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2562 09:50 น.