กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4141-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสรพงษ์ ยั่งเจริญ (ผอ.รพ.สต.ลำใหม่)
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือ โรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราตาย ๘๕.๐๔ ,๓.๖๔ , ๕๕.๒๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.๒๕๕๐)และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ ๑ ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง “มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง” การรักษาโรคเรื้อรังโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอเพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่พบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 258รายโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 683 รายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 776 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 174 ราย ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง-ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ดูแลตนเอง ลดเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ในการสูญเสียของประชากร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

2 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทรกซ้อนได้

ร้อยละ80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานกับ อสม. 7 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมสถานที่กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
  4. ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการ 5.1จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน30คน 5.2ติดตามพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 5.3ติดตามเยี่ยมและแนะนำในรายที่มีปัญหาไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้และมีค่าน้ำตาลและความดันโลหิตสูงเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ
  6. สรุป/ประเมินและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. ร้อยละ80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 11:33 น.