กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลใส่ใจสตรี มีสุขภาพดี ตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4141-7-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสรพงษ์ ยั่งเจริญ (ผอ.รพ.สต.ลำใหม่)
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมาหะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2550) การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30- 60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2559 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ 21.10ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายของตำบลลำใหม่ จะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 60
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการดูแลใส่ใจสตรีมีสุขภาพดีตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2560โดยโครงการดังกล่าวจะรณรงค์เร่งรัดให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ และได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ80

2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคโรคมะเร็งปากมดลูก

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. ตัวแทนผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1.2 ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำใหม่ 1.3 เขียนโครงการ ฯ เสนอขออนุมัติ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยวิทยุชุมชน 1.5 จัดทำทะเบียนคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของรพ.สต 2.ขั้นตอนการดำเนินการ 2.1 จัดให้ความรู้แก่สตรีอายุ 30 – 60 ปีจำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน 2.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่รพ.สต ทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ของสัปดาห์ และนำ Specimen ส่งตรวจ ณ โรงพยาบาลยะลา พร้อมทั้งแจ้งผลตรวจให้แก่ผู้รับบริการ 2.3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พร้อมทำหนังสือเชิญให้มารับบริการ ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ 2.4 ให้สุขศึกษาและส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบภาวะผิดปกติ 2.5 ติดตาม ประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ หลังดำเนินโครงการและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มสตรี อายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 14:02 น.