กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน
รหัสโครงการ 60-L1520-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านไชยภักดี
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางราตรีผ่องเเผ้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านไชยภักดี ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2560 31 มี.ค. 2560 44,300.00
รวมงบประมาณ 44,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อทางอาหารและน้ำเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่มีการระบาดเป็นวงกว้างทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก และอาการของโรคอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวาย หรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุนอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะยาต้านจุลชีพ ทำให้มีการเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นและยังนำไปสู่การเกิดเชื้อจุลชีพดื้อยา สาเหตุมักเกิดจากสารพิษหรือเชื้อโรค ซึ่งอาจจะมีอยู่ตั้งแต่แรกในอาหาร น้ำ หรือปนเปื้อนภายหลังจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ และหากเป็นผู้ประกอบอาหาร หรือพนักงานเสิร์ฟอาหารจะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก ซึ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่เป็นปัญหาสำคัญที่ควรเร่งรัดดำเนินการ ได้แก่ โรคอาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค และโรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคอาหารเป็นพิษนั้น เป็นโรคที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา และมีอัตราป่วยเป็นอันดับต้นๆ ของโรคที่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง จากข้อมูล รง.506 ของสำนักระบาดวิทยา ย้อนหลัง 10 ปี (ปี พ.ศ. 2548 – 2557) การเกิดเหตุการณ์การระบาดด้วยโรคอาหารเป็นพิษ มักเกิดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่โดยเกิดขึ้นกับนักเรียนสูงสุด ทั้งนี้เกิดจากอาหารและนมในโรงเรียน รวมถึงกิจกรรมในการเข้าค่าย ทัศนศึกษา จึงมุ่งเน้นดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าวในโรงเรียนเป็นหลัก ส่วนอหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงและสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว แหล่งที่เกิดโรคมักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดีไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้น การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องของการเฝ้าระวังป้องกันโรคในภาวะปกติ และการควบคุมโรคในภาวะที่มีการระบาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน

 

2 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม โรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน

 

3 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาปลอดจากโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพี่อขอรับความเห็นชอบ และอนุมัติโครงการต่อผู้บริหาร 2.ประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา 3.แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานดำเนินโครงการ 4.จัดประชุมชี้แจงประสานงานกับคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อมอบหมายงานให้กับฝ่ายต่างๆ 5.จัดอบรมให้ความรู้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้ -.ฐานที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษ -.ฐานที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษจากสารพิษของแบคทีเรีย -ฐานที่ 3ความรู้เกี่ยวกับโรคอาหารเป็นจากพืช -.ฐานที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับทั่วไปของโรคอาหารเป็นพิษ -ฐานที่ 5 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาเบื้องต้น -ฐานที่ 6 กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ 6.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 7.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน 2.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม โรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน 3.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาปลอดจากโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 14:18 น.