กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพและคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเชิงรุก
รหัสโครงการ 60-L1520-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 15,700.00
รวมงบประมาณ 15,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ มะเร็งพบมากที่สุดในสตรี คือ มะเร็งปากมดลูก รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราการตายของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลง เนื่องจากมีการวินิจฉัย ค้นหามะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรกหรือความผิดปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการทำ Pap smear ทำให้มีการรักษาความผิดปกติเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้จำนวนของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะรุนแรงลดลง จากผลการศึกาาของ Internation Agency for Research on Cancer (IARC / WHO) พบว่าถ้ามีการคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกโดยการทำ Pap smear ในหญิงอายุ 30 - 60 ปี โดยทำ 1 ครั้งทุกปี หรือ 1 ครั้งทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้งทุก 3 ปี จะสามารถลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 91 - 93% แต่ถ้าทำ 1 ครั้งทุก 5 ปี จะสามารถลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกได้ 84 % ในปีงบประมาณ 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง ดำเนินการโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยตรวจคัดกรอง Pap smear ในรอบปี 2559 จำนวน 596 คน ได้รับการตรวจ Pap smear จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 14.43 ผลการตรวจไม่พบเชื้อมะเร็งปากมดลูก จากรายงานผลการตรวจจะเห็นว่าการเฝ้าระวังและการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย แต่เพื่อให้การเฝ้าระวังการเกิดโรคที่รุนแรง สตรีกลุ่มเป้าหมายควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี Pap smear ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องและกำหนดเป้าหมายการตรวจ Pap smear ตั้งแต่ปี 2558 - 2562 อย่างน้อยปีละร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยการค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ส่งผลให้สามารถให้การรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตื่นตัวเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา

หญิงวัยเจริญพันธ์ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบและเกิดตั้งแต่ ปี ปี พ.ศ.๒500 ถึง พ.ศ.๒๕30 ๑.๒ จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก่ อสมและแกนนำครอบครัวกลุ่มเป้าหมายกับผู้ป่วยที่ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังได้รับการรักษาอยู่ในขณะนี้ ๑.๓ แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่ อสม ผู้รับผิดชอบครัวเรือนและแกนนำครอบครัว เพื่อติดตามและแนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกช่วงรณรงค์ ๑.๔ ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ 4 ชุด และจัดทำเอกสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และกำหนดวันตรวจมะเร็งปากมดลูกในPCU ส่งกลุ่มเป้าหมายทุกคน
ขั้นดำเนินการ ๒.๑ จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเชิญชวนเจ้าหน้าที่ข้างเคียง ช่วยตรวจ มะเร็งปากมดลูก จำนวน ๒ครั้ง ๒.๒ ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการที่กำหนด ในครัวเรือน ๒.๓ ส่งแผ่น slide ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลตรัง ๒.๔ รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลตรัง ๒.๕ ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ ๒.๖ ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ ๒.๗ บันทึกผลการทำใน program papสำหรับกลุ่มเป้าหมาย๓๐-๖๐ ปี ๒.๘ เยี่ยมบ้านสร้างสัมพันธภาพเยี่ยมบ้านด้วยใจหมออนามัย ๒.๙ สรุป โครงการทุกเดือน รวมทั้ง อสม. เพื่อสรุปปัญหาของโครงการและหาแนวทางแก้ไข ๒.๑๐สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ การประเมินผล ประเมินผลจากจำนวนผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองโดยวิธี Pap smear และได้รับการส่งต่อเมื่อพบ ความผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีการตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
  2. อัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง
  3. ชุมชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 14:31 น.