กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2563
รหัสโครงการ 2563-L3351-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 45,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1292 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานในชุมชน (43.11/พันประชากร)
3.00
2 อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน (110.39/พันประชากร)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชากรในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ.2552 เป็น ร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ.2557 และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้าน ในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี 2561 และอีกเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วย อีกทั้งแนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอีกด้วย (สำนักโรคไม่ติดต่อ 2561) ซึ่งปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่สะสมเป็นเวลาหลายปี เช่น การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงการสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะเครียดสะสม การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ ประกอบกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการมีพ่อ แม่ ญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการป่วยโรคดังกล่าวมากกว่าอีกกลุ่ม กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังดังกล่าว เนื่องจากหากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งของหน่วยงานราชการและเศรษฐกิจครอบครัวของผู้ป่วยเอง ยิ่งผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น อัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นสำหรับจังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 12,275 คน คิดเป็นอัตราป่วย 10,128.63 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 737 คนคิดเป็นอัตราป่วย 608.13 ต่อแสนประชากรผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 28,085 คน คิดเป็นอัตราป่วย 23,174.16 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 1,606 คนคิดเป็นอัตราป่วย 1,325.18 ต่อแสนประชากร(HDC 2562)
ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีอัตราป่วยโรคเบาหวาน 43.11 ต่อพันประชากรและอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง 110.39 ต่อพันประชากร ซึ่งได้ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี คือการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดที่รับผิดชอบ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงแม้อายุไม่ครบ 35 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ความครอบคลุมของการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2562 เท่ากับ ร้อยละ 95.4 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 16 คน (ร้อยละ 1.75)กลุ่มเสี่ยง 111 คน (ร้อยละ 10.10)พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 36 คน (ร้อยละ 3.94) กลุ่มเสี่ยง 162 คน (ร้อยละ 17.74) (HDC 2562) การคัดกรองเป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในปีถัดไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดโครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ปี 2563 ขึ้น เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้ประชากรรับรู้ความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

4.00 1163.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

4.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

6 ม.ค. 63 คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2563 0.00 32,700.00 -
20 ม.ค. 63 ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง (สมัครใจเข้าร่วมโครงการ) 0.00 9,900.00 -
29 พ.ค. 63 ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ 0.00 2,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.คัดกรองโรคเบาหวาน 2.คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4.สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หน่วยบริการสามารถจัดบริการสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่ม (กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย) ตามผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน 3.ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกินร้อยละ 7 และโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 3

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2562 00:00 น.