กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดภัย ห่างไกลไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสอม
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2016 - 31 ธันวาคม 2016
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,395.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางช่อผกาชัยเกษตรสิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมีการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อให้ดำรงอยู่รอดในสถาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เป็นต้น เมื่อโรคมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ร่างกายมนุษย์เริ่มมีความอ่อนแอลง โรคจึงมีศักยภาพในการก่อโรคมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพของตนเองบกพร่องหรือไม่ดีพอ โรคที่เกิดขึ้นอาจมีทั้งโรคติดต่อ แต่ละโรคมีความรุนแรงแตกต่างไป โดยโรคที่เกิดขึ้นมากและพบได้บ่อยในแถบภาคใต้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงฤดู โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน คือโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะนำโรคอย่างไข้เลือดออก ไข้เลือดออกเป็นปัญหาของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและการป่วยเป็นไข้เลือดออกจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปี แต่ในปัจจุบันเชื่อโรคที่เป็นสาเหตุของการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ในกลุ่มอายุทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 และดำเนเนการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปีสถานการณ์ไข้เลือดออกที่ติดเชื้อจากไวรัสแดงกี่(Dengue virus) ซึ่งอาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงโรคหวัด โดยไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที จึงทำให้เกิดภาวะช็อกและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด จากข้อมุลสถิติของสำนักระบาดวิทยา 1559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น โดยใน พ.ศ.2554-2558 มีจำนวนผู้ป่วย 365,075 ราย ในปี พ.ศ.2559 ได้มีจำนวนผู้ป่วย 54008 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยใน พ.ศ.2554-2558 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 374 ราย ในปี พ.ศ.2559 ได้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากถึง 51 ราย การกระจายการเกิดไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 225.96 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (192.22) อายุ 15-24 ปี(139.22) อายุ 0-4 ปี (95.66)และอายุ 25-34 ปี(85.92) ตามลำดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือนักเรียน ร้อยละ 43.05 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 19.08) และำม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 18.42) ตามลำดับการกระจายการเกิดไข้เลือดออกรายภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 128.09 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 11,848 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ อัตรป่วย 98.78 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 12,265 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 68.55 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 14,999 ราย และภาคกลาง อัตราป่วย 67.69 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 14,896 ราย ตามลำดับ ซึ่งจากสถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ภาคใต้เป็นภาคที่มีอัตราการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกสูงเมื่อเทยบจากระดับประเทศ ซึ่งจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา รองลงมา คือ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลาและจังหวัดสตูล (สำนักงานป้องกันควบคุมโรค,2559) จากสถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าในพื้นที่จังหวัดตรังยังมีปัญหาการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องมากที่สุดเป็น ลำดับ 3 ของภาคใต้ และอัตราการป่วยของ หมู่ 10 จำนวน 5 ราย อัตราป่วย 188.53 ต่อประชากรแสนคน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยาบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นการปลูกฝังให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ทุกคนในชุมชน ตลอดจนเครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชนให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงการได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาไข้เลือดออก ที่ยังมีอัตราการป่วยและมีความรุนแรงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ"ชุมชนปลอดภัย ห่างไกลไข้เลือดออก"เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับไข้เลือดออกและเสริมศักยภาพให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกิจกรรมต่างๆ

พื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลแหลมสอม

2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายวัน Big Claening Day จำนวน 80 คน กลุ่มเป้าหมายวันปรชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน80 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตำบลแหลมสอม และองค์กรในชุมชน ผู้นำและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2.วินิจฉัยชุมชนโดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความจำเป็นพื้นฐาน 3.ระบุปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา 4.ประชุมประชาคม อสม. คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อจัดลำดับปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาและจัดโครงการประชาสัมพันธ์ให้ทุกหลังคาเรือนทราบเพื่อเข้าร่วมโครงการ 5.จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอโครงการตามลำดับ 6.จัดเตรียมป้าย ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อ หอกระจายข่าวหมู่บ้าน -การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไข้เลือดออก -การให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก -ขั้นตอนการดำเนินงานควบคุมโรคในชุมชน -มาตร 3 ก ในการควบคุมโรคตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันฏรคในชุมชน -จัดกิจกรรมรณรงค์วัน Big Cleanung Day โดยร่วมกันทำความสะอาด เก็บขยะ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในที่สาธารณะ ถนน ศาสนสถาน พร้อมรถประชาสัมพันธ์แจกเอกสารแผ่นพับ 2.ให้สุขศึกษาปรชาสัมพันธ์ อสม.และชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยแบ่งฐานให้ความรู้ตามละแวกบ้านรับผิดชอบของ อสม. -ให้ความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออก -การให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นมาตรการ 3ก -ขั้นตอนการดำเนินงานควบคุมโรคในชุมชน -ความร้ายแรงของโรคไข้เลือดออก -ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 3.จัดประกวดคำขวัญเกี่ยวกับไข้เลือดออก 4.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง -จัดนิทรรศการความรู้ เรื่อง ไข้เลือดออก -ทำแบบสอบถามก่อนจัดทำโครงการ -ให้ความรู้เรื่องลักษณะของบ้านที่ถูกสุขลักษณะ -จัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง อสม.และชาวบ้านด้วยกันสรุปสิ่งที่ได้รับ -ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องโรคไข้เลือดออก -ทำแบบสอบถามหลังจัดทำโครงการ -มอบเกียรติบัตรและรางวัลแก่ผู้เข้าร่วมประกวดคำขวัญ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมถาม-ตอบ ปัญหา -สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2.ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน ให้น้อยลงประชาชนในชุมชนประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชิวิตที่ดี ไม่เกิดความเจ็บป่วยด้วยไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2017 15:38 น.