กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชุมปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย
รหัสโครงการ 2563-L3351-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 ตุลาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 13,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนูอั้น ไข่ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหมู่บ้านมีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง
4.00
2 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
4.00
3 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
4.00
4 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยนั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้วปัญหาความสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากมูลฝอยจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้วขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้กระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ยังอยู่ในขั้นรุนแรงไม่มากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้วขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยมนุษย์ด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งนี้เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงนำโรคเช่น แมลงสาปแมลงวันยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่นๆทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาดถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้นที่ทำให้บริเวณนั้นสกปรกขาดความสวยงามเป็นที่รังเกียจผู้พบเห็นและผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลองหรือทางระบายน้ำจะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการน้ำเสียน้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองไว้เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์สารอนินทรีย์เชื้อโรคและสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใดก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไปทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตามล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิงมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำน้ำที่สกปรกมากหรือมรสารพิษเจือปนอยู่ก็จะทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้นนอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เจือปนในน้ำก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของน้ำทำให้สัตว์น้ำมีค่าบางชนิดสูญพันธ์ไป การกำจัดมูลฝอยวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น นำไปกองบนพื้นดินหมักทำปุ๋ยเผากลางแจ้งเผาในเตาเผาขยะและฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ เป็นต้น การกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าวนั้นบางวิธีเป็นการกำจัดไม่ถูกต้องทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของคนด้วย หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยชุมชน และคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มเรื่อยๆ(ข้อมูลจากเทศบาลตำบลโคกชะงาย) เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน จากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง หันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆ ด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มภาวะโลกร้อน และ ของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและการบริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้นและของที่ไม่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดและมีการจัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาความสะอาด และสร้างธรรมนูญสุขภาพครบ 3 หมู่บ้าน

ทุกครอบครัวกลุ่มเป้าหมายมีการจัดการขยะทุกครัวเรือน ชุมชน

4.00 120.00
2 เพื่อให้บ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านน่าอยู่น่ามอง

บ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้าน น่าอยู่ น่ามอง ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย

4.00 120.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวในการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์ 120 11,940.00 11,940.00
18 ส.ค. 63 กิจกรรมประกวดครอบครัวปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย 0 1,200.00 0.00
รวม 120 13,140.00 2 11,940.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ทุกครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้
  • อัตราป่วยทุกครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายลดลง
  • บ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชนน่าอยู่น่ามอง ร้อยละ 70 ของครัวเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2562 00:00 น.