กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ2563
รหัสโครงการ 63-L7258-1-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลนครหาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 2,320,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร ไชยชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครหาดใหญ่ มีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีและเด็ก ตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขถึงฉบับที่ ๑๓พ.ศ.๒๕๕๒ ตรา ๕๐(๗) มาตรา ๕๓ (๑) มาตรา ๕๖(๑) เทศบาลมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก ยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและชั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนท้องถิ่น พ,ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๐) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาสเด็กคือทรัพยากรอันทรงคุณค่ามีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคมตลอดจนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมทุกด้านเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เด็กที่มีคุณภาพจะต้องมีพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งค้นร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม การพัฒนาเด็กให้มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทุกต้านจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะพลังคลอดและวะยะเด็กปฐมวัย แต่ในปัจจุบันแม่และเด็กหาดใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพในหลายประเด็น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก ได้แก่ภาวะทุพโภชนาการ การขาดธาตุไอโอดีน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และปัจจัยดันอื่น ๆ เช่นตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวะโรคต่างๆ และการอบรมเลี้ยงดูเด็กเทศบาลหาดใหญ่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕-๒๕๖ด เกิดผลสัมฤทธิ์ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่ อนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานและเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์ ๖๐.๗๒,๖๒.๗๒ ,๖๓.๓๙, ๖๔.๗๗ ,๖๖.๘๗ , ๖๙.๒๗ และ ๗๑.๓๕ ตามลำดับ (เกณฑ์ >ร้อยละ ๖๐) ๒. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (เจาะเลือดครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๔๙ , ๑๖.๙๖, ๑๒.๒๕ , ๑๔.๐๙, ๑๗,.๖๒ , ๒๕.๒๑ , และ ๒๐.๓๑ตามลำดับ (เกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์

๑ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
๒. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

0.00
2 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิด - ๑ ปี จำนวน ๓๕๕ คน คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ ๑. มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ไม่น้อยกว่า ๖ เดือนและต้องอาศัยอยู่จริง ๒. ต้องได้รับการฝากครรภ์แล้วและมีสมุดฝากครรภ์/ใบฝากครรภ์ ๓. มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขหรือเป็นผู้ด้อยโอกาส

๑.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ( Hct 1 ) ไม่เกินร้อยละ 20
๒. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอด (Hct ๒) ไม่เกินร้อยละ ๑๐
๓. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ไม่เกินร้อยละ ๗
๔.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ ๓ ครั้ง ตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕
๕. เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า ๖ เดือน กินนมแม่ อย่างเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
๖. เด็กแรกเกิด-๑ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ไม่น้อย กว่าร้อยละ ๖๐
๗. เด็ก ๙ ๑๘ ๓๐ และ ๔๒ เดือน ได้รับการตรวจ คัดกรองพัฒนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕
๘. เด็ก ๐-๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๒. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัย

 

0.00
4 ๓. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
5 ๔. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4787 2,001,169.00 18 2,001,169.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม "ธนาคารหนังสือนิทาน" (ให้ผู้ปกครองยืม - คืนหนังสือนิทาน) 355 24,907.00 24,907.00
1 - 30 พ.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนตุลาคม 2562 355 157,561.00 157,561.00
1 พ.ย. 62 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนตุลาคม 2562 35 2,375.00 2,375.00
29 พ.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 355 162,054.00 162,054.00
29 พ.ย. 62 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 26 2,150.00 2,150.00
19 ธ.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนธันวาคม 2562 355 154,117.00 154,117.00
24 ม.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมกราคม 2563 355 160,834.00 160,834.00
24 ม.ค. 63 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนมกราคม 2563 48 2,700.00 2,700.00
28 ก.พ. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 355 166,234.00 166,234.00
28 ก.พ. 63 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 43 2,575.00 2,575.00
27 มี.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมีนาคม 2563 355 175,678.00 175,678.00
24 เม.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนเมษายน 2563 355 179,281.00 179,281.00
29 พ.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 355 167,003.00 167,003.00
26 มิ.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมิถุนายน 2563 355 162,783.00 162,783.00
24 ก.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกรกฎาคม 2563 355 166,684.00 166,684.00
21 ส.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนสิงหาคม 2563 355 160,679.00 160,679.00
21 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนสิงหาคม 2563 20 1,100.00 1,100.00
10 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกันยายน 2563 355 152,454.00 152,454.00

๑.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
๒.นำเสนอข้อมูลต่อคณะทำงาน เพื่อพิจารณาจัดทำโครงการต่อเนื่อง
๓. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน สปสช. เทศบาลนครหาดใหญ่
๓.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
๕.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
๕๑ กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายนมไข่) เพื่อส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจ
ให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วและข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดย
๕๑.๑ รับลงทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ทุกวันที่ ๑ – ๑๐ ของทุกเดือน ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้เข้าร่มโครงกาสำหรับบันทึกสุขภาพและการเยี่ยมบ้าน พร้อมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ทราบ เพื่อความสะดวกและแจ้งนโยบายการติดตามดูแลสุขภาพทั้งระบุรายชื่อ อสม. แม่คนที่ ๒ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ทราบ เพื่อความสะดวกและแจ้งนโยบายการติดตามดูแลสุขภาพเชิงรุก ๕.๑๒ รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงกร จัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ด้วยโปรแกรมฐานข้อมูลเชิง
ส้มพันธ์ (Microsft Aces) ประมวลผลข้อมูล จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทะเบียนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงและทะเบียนรับวัสดุนม-ไข่
๕๑.๓ ส่งต่อรายชื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้ศูนย์บริการสาธารณสุข และ อสม. ในพื้นที่ทราบ ๕๑.๔ จ่ายนม - ไข่ เดือนละ ๑ ครั้ง ณ หอประชุมทศบาลดรหาดใหญ่ ตามวันที่และเวลาที่ - กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มมารดาหลังคลอด จ่ายนมสเตอริไลส์ จำนวน ๓๐ กระป๋องต่อเดือน และจ่ายไขไก่ เบอร์ ๒ จำนวน ๓๐ ฟองต่อเดือน
-กลุ่มเด็ก ๖ เดือน -๑ปี จ่ายนมผง ช่วงวัยที่2 (เด็ก ๖ เดือน- ๓ ปี )ขนาด ๖๐๐ กรัม ต่อกล่อง จำนวน ๒ กล่องต่อเดือน และจ่ายไขไก่ เบอร์ ๒ จำนวน ๓๐ ฟองต่อเดือน ๕.๒ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ๕.๒.๑ จัดกิจกรรมตรวจพัฒนาการและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ "กิน กอด เล่น เล่า" โดยสหวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาล อสม, นักโภชนาการ ทันตแพทย์ฯ เดือนละ 1 ครั้ง ในวันจ่ายนมไข่ ณ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่
๕๒.๒ จัดกิจกรรม "ธนาคารหนังสือนิทาน" เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือนิทานและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยจัดหาหนังสือนิทานให้พ่อแม่ ผู้ปกครองยืมหนังสือนิทานกลับไปอ่านให้ลูกฟังที่บ้านจัดให้ยืม-คืนหนังสือนิทานเดือนละ ๑ ครั้งในวันจ่ายนมไข่ ๕.๓ กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน (ให้บริการเชิงรุกเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพแม่และเด็ก)
๕.๑.๓ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพเล็กน้อย ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม, แม่คนที่ ๒ เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำ พร้อมทั้งติดตามสำรวจข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่ อยู่ในพื้นที่หรือไม่ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กได้บริโภคนมไข่ที่จ่ายไปหรือไม่ พร้อมทั้งติดตามโภชนาการ พัฒนาการและการรับวัคซีนตามเกณฑ์ และรายงานผลการเยี่ยมบ้านตามขั้นตอน
๕.๓.๒ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไทรอยด์หอบหืด ติดสารเสพติด ตั้งครรภ์อายุน้อย ๆ ติดตามเยี่ยมบ้านโดยพยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ                          ๕.๓.๓ กลุ่มมารดาและทารกหลังคลอด เยี่ยมโดยอสม. และพยาบาลในการให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตรวจหลังคลอด กรวางแผนครอบครัวฯ
๕.๓.๔ กลุ่มเด็กแรกเกิด-๕ ปี ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. เพื่อฝ้าระวังโภชนาการ เฝ้าระวังและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยงเดียวย่างน้อย ๖ เตือน การรับวัคซีน การส่งเสริมพัฒนาการ ส่งเสริมการอ่านการเล่านิทาน และติดตามให้พ่อแม่พาเด็กตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยจ้าหน้าที่สาธารณสุข ช่วงอายุ ๙ , ๑๘, ๓๖ , ๔๒ , ๖๐ เดือน๕.๔ กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก โรงเรียนพ่อแม่) จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมโครงการรายใหม่ทุกราย (หญิงตั้งครรภ์และสามีต้องเข้าร่วมอบรมความรู้โรงเรียนพ่อแม่ อย่างน้อย ๑ ครั้ง)  ๕.๕ กิจกรรมประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้รับทราบถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก                            ๕.๔.๑ กิจกรรมเยี่ยมบ้านมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน เพื่อสร้างกระแสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคม
๕.๔.๖ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ โดยจัดทำป้ายไวนิล ติดตั้งที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง ๑๔ แห่ง
เพื่อประชาชนสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างทั่วถึง
๖. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์ มารดทารกหลังคลอดละเด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่ดี ลูกเกอดรอด แม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัยทุกด้าน
๒. หญิงตั้งครรภ์ / มารดาทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัยได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. แม่คนที่ ๒
๓. หญิงตั้งครรภ์ มารดหลังคลอดและครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตรการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 10:51 น.